การปรากฎขึ้นของข่าวสินบน “โรลส์-รอยซ์” มากด้วยสีสันและทรงความหมาย

เพราะจุดเริ่มของเรื่องเริ่มในปี 2534
ทรงความหมายเพราะในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 มี “รัฐประ หาร” เกิดขึ้น
ตรงนี้แหละที่ก่อให้เกิด “สีสัน”
เพราะ “รัฐประหาร” หมายถึงอำนาจของ “กองทัพ” และของ”ทหาร”ที่มีบทบาทอยู่ใน “กองทัพ”
แม้เบื้องต้นข่าว”โรลส์-รอยซ์”จะพุ่งเป้าเข้าใส่”การเมือง”
แต่หากศึกษาระยะเวลาของการจ่าย “สินบน” ทั้งจาก 3 ระลอกจาก 2534-2548
“จุดเริ่ม” มาจาก “2534”
การเมือง หรือ “นักการเมือง” จึงอยู่ในห้วงแห่ง “ปลายน้ำ” ขณะที่ “ต้นน้ำ” และ “กลางน้ำ” ดำเนินมาอย่างไร ตรงนี้ต่างหากที่มีความสำคัญเป็นอย่างสูง
สูงต่อกระบวนการ”สินบน” กระบวนการ”คอรัปชั่น”

ในห้วงก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ในห้วงก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
“การเมือง” ล้วนตกเป็น “จำเลย”
“นักการเมือง” คือ เป้าหมายสำคัญในการโค่นล้ม บดขยี้และทำลาย
คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นล้วนพุ่งปลายหอกใส่ “การเมือง”
ทั้งๆที่ในความเป็นจริงกระบวนการ “คอรัปชั่น”ล้วนดำเนินไปในลักษณะ 3 ประสาน
มี “ต้นน้ำ” ตามด้วย”กลางน้ำ”และตามด้วย”ปลายน้ำ”
หากพ่อค้าและนักธุรกิจไม่เสนอก็ยากจะเกิดขึ้น หากข้าราชการไม่สนองก็ยากจะเกิดขึ้น หากนักการเมืองไม่รับก็ยากจะเกิดขึ้น
พลันที่สินบนจาก”โรลซ์-รอยซ์”ปะทุขึ้นจากสหราชอาณาจักรและจากสหรัฐ ทุกสายตาจึงมองที่ “การเมือง”
แต่สีสันของเรื่องนี้อยู่ที่ “ต้นน้ำ”และ”กลางน้ำ”

คนที่รู้เส้นสนกลในเป็นอย่างดีจำนวนหนึ่งไม่ว่าจะจากพรรคเพื่อ ไทย ไม่ว่าจะจากพรรคประชาธิปัตย์
จึงมอง “ความอื้อฉาว” นี้อย่างเยือกเย็น
แปลกใจหรือไม่ว่าเหตุใด นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ จากพรรค ประชาธิปัตย์จึงรู้สึกว่า
“บุคคลที่อยู่ในการตรวจสอบยังล้าหลัง เพราะการเอาคนเข้าสู่ระบบมีปัญหาคือการหลิ่วตา ถ้าไม่ใช่พวกก็เต็มที่ แต่ถ้าพวกกันมีการอุปถัมภ์ดูแล”
ข้อสงสัยอาจพุ่งไปยัง “ป.ป.ช.”
แต่จากกรณี “รถถังยูเครน” กรณี”ทีจี 200″ กรณี”อุทยานราชภักดิ์” ล้วนแจ่มชัดว่า “ความเป็นพวก” มีบทบาทและทรงความหมายเพียงใด
กรณี”โรลส์-รอยซ์”จึงก่อให้เกิดความหวาดระแวงเช่นกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน