รายงาน : นโยบายศก.ภายใต้รัฐบาลเลือกตั้ง

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่

การเลือกตั้ง ครั้งนี้ ทุกพรรค จะหาเสียงเรื่องก้าวหน้าเหมือนกันทั้งหมด เช่น ปฏิรูปการเกณฑ์หทาร กระจายอำนาจ ความหลากหลายทางเพศ รัฐสวัสดิการ สะท้อนว่าทุกพรรคเห็นเหมือนกันควรแก้ปัญหาของประเทศยังไง

โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่มากที่สุด คนจนไม่อาจเข้าถึงทรัพยากรได้ ต้องรับผลกระทบจากการพัฒนาของโครงการใหญ่ที่เอื้อกลุ่มทุนใหญ่

ต้องยอมรับความจริงว่าโครงสร้างที่กดทับสังคมไทยคือกลุ่มอภิสิทธิ์ชนโดยทหารและทุนผูกขาด ถ้าไม่ทำลายโครงสร้างแบบนี้จะไม่เห็นความก้าวหน้าอย่างที่อยากเห็น ถ้าไม่จัดการกันอย่าง ตรงไปตรงมา

ในทางเศรษฐกิจ ขาหนึ่งที่อภิสิทธิ์ชนมีอยู่จะเป็นระบบปิด ไม่ให้เปิดเสรี ไม่ต้องมีการแข่งขัน อีกขาหนึ่งที่อภิสิทธิ์ชนไม่อยู่ ภาคธุรกิจนั้นก็เปิดให้มีการแข่งขัน ทำให้ภาพของไทยกลายเป็นฐานการผลิตของทุนต่างชาติตลอด 50 ปีที่ผ่านมา โดยไทยไม่เคยมีเทคโนโลยีของตนเอง การทำให้ไทยเป็นฐานผลิตของต่างประเทศไม่อาจพาประเทศพ้นจากกับดักรายได้ปากกลาง ทำให้เศรษฐกิจสว่างไสวไม่ได้

เราจำเป็นที่ต้องนำเสนอ เพื่อปฏิเสธกระบวนทรรศน์แบบเก่าและเสนอแบบใหม่ โดยอนาคตใหม่ขอเสนอแนวคิดพัฒนาเศรษฐกิจไทยดังนี้

1. ปลดล็อก การผูกขาดในทุกอุตสาหกรรมที่ทุนใหญ่นอนเตียงเดียวกับขุนทหารเป็นพวกเดียวกัน ยกเลิกการผูกขาดภาคธนาคาร ต้องเลิกเอาเงินภาษีไปซื้อปุ๋ยเจ้าใหญ่แจกจ่ายประชาชน สุราชุมชุมก็ต้องปลดปล่อยเช่นกัน ภูมิปัญญาชาวบ้านกำลังจะหายไปภายใน 10 ปี

2.สร้างอุตสาหกรรมโดยคนไทยเพื่อคนไทย หมดเวลาแล้วที่คิดว่า ไทยเป็นฐานการผลิตให้ทุนข้ามชาติ ต้องมี 4 เงื่อนไข ยังไม่มีมาก่อน, สอดคล้องกับการพัฒนา, มีศักยภาพ และตอบโจทย์การพัฒนา

นั่นก็คืออุตสาหกรรมรถไฟ สามารถสร้างงาน 1.5 แสนอัตรา ตั้งในภาคอีสานได้ทันที ส่วนภาคการเกษตรนำเครื่องจักรสมัยใหม่มาใช้พัฒนาทางเทคโนโลยีด้านนี้ แค่นี้จะเพิ่มมูลค่าให้ข้าว 1,500 บาทต่อตันทันที กระบวนการเก็บสินค้าต้องสร้างไซโลทันสมัย ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตรวจสอบให้ได้ทันที

และ 3.กระจายอำนาจท้องถิ่น อย่าปล่อยให้กรุงเทพฯ เป็น คอขวดอีกต่อไป ผู้มีอำนาจไม่เคยลงพื้นที่ อนาคตใหม่จะไม่สัญญาจะแก้ปัญหาทั้ง 77 หวัดได้ แต่สัญญาว่าจะพยายามเต็มที่สุดความสามารถในการผลักดันให้ประชาชนในท้องถิ่นจัดการตนเองให้ได้ ทั้งหมดนี้จะสร้างคลื่นลูกที่ 4 ให้เศรษฐกิจไทย

จาตุรนต์ ฉายแสง

พรรคไทยรักษาชาติ

การดำเนินนโยบายและการบริหารประเทศตลอดเกือบ 5 ปีมานี้ ไม่พบการปฏิรูปใดๆ ทั้งยังเสียโอกาสทำให้ศักยภาพของประเทศถอยหลัง ตัวเลขทางเศรษฐกิจเติบโตจริง แต่คนสงสัยทำไมไม่มีเงินในกระเป๋า

แท้จริงแล้วการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจไทยถือว่าต่ำสุด ในอาเซียนเฉลี่ยช่วง 4 ปี โตเพียง 2.4 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนบ้านเฉลี่ยที่ 6 เปอร์เซ็นต์ เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำมาก ยิ่งขึ้นสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก คน 1 เปอร์เซ็นต์มีทรัพย์สิน 66.9 เปอร์เซ็นต์ แต่คนส่วนใหญ่ 70 เปอร์เซ็นต์ มีทรัพย์สินรวมกันแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ภาพรวมคือ ไทยเติบโตช้ามาก แถมด้วยความเหลื่อมล้ำมหาศาล

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางก็ล่าช้า 3 กิโลเมตร ยังไม่ไปถึงไหน โครงการขนาดใหญ่ยังมีปัญหาเรื่องการประมูล เช่นเดียวกับประชารัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมกับรัฐได้โปรเจ็กต์ง่ายๆ ด้วยการโฆษณาว่าทุนใหญ่จะได้มาช่วยรัฐบาลบริหาร

การเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร ทรัพยากรต่อเศรษฐกิจดิจิตอล ประเทศไทยถือว่าช้ามาก ล่าสุดก็มีการเก็บภาษี e-commerce การค้าออนไลน์โดยไม่มีความเข้าใจจนทำให้ถอยหลังและเสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย

รัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมีข้อจำกัดหลายอย่างจนทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมาก ถ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยประชาชนจะได้มีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ที่มาก กว่ารัฐบาลที่ไม่เป็นประชา ธิปไตยอย่างชัดเจน

สิ่งที่ควรทำเร่งด่วนคือ ฟื้นความเชื่อมั่นของระบบเศรษฐกิจไทย ให้นักลงทุนจากต่างประเทศมาลงทุนกันมากขึ้นรวมถึงผู้บริโภคด้วย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ทำได้โดยการสร้างประชาธิปไตย พรรคการเมืองต้องช่วยกัน ต้องเลิกทำในเรื่องที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ

การจัดทำงบประมาณต้องคิดใหม่ หลังเลือกตั้งก.พ.2562 ต้องรีบเข้าไปจัดการ ตั้งรัฐบาลได้แล้วต้องคิดเรื่องใหญ่หลายเรื่อง อย่างเรือดำน้ำก็ต้องดูสัญญา ทำได้มากเพียงใด หากยกเลิกทันทีก็อาจส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่น

ต้องพิจารณาเรื่องทุนผูกขาดและความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจัง กระจายรายได้ ไม่ใช่การนำภาษีมาแจกแบบประชารัฐ แต่ต้องทำ ให้คนมีรายได้ด้วยการเข้าถึงทุนและความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้มีความพร้อม ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้ทุกคนแข่งขันได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน

กิตติรัตน์ ณ ระนอง

รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ตลอด 4-5 ปีนี้กลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก่อให้เกิดผลร้ายมาก การส่งออกจะดีกว่านี้มากถ้าอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ข้อตกลงเสรีทางการค้าทุกอย่างที่ทำไว้ต้องชะงักลง

ราคาสินค้าเกษตรที่บอกให้เป็นไปตามกลไกตลาด ถ้าแปลออกมาคือปล่อยไปตามยถากรรม การพิจารณาใช้จ่ายงบประมาณของรัฐก็มีปัญหา อนุมัติงบกลางปี 2 ครั้ง เพื่อนำเงินไปใช้อย่างไม่ควร ถ้าเป็นรัฐบาลปกติจะมีฝ่ายค้านคอยซักกันยาวนาน

ผมอยากเห็นภาครัฐทำหน้าที่ส่งเสริมจัดระเบียบ ไม่ใช่ทำตนเป็นอำนาจนิยม ออกกฎระเบียบจนคนสุจริตหมดกำลังใจที่จะทำงาน ควรให้โอกาสธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็กให้มีความสามารถในการแข่งขัน ไม่ใช่ปล่อยให้ทุนใหญ่เป็นผู้กำกับแบบที่ผ่านมา

การทำงานของภาครัฐภายใต้แนวคิดอำนาจนิยมมีการออกกฎหมายควบคุมมากมาย ฝ่ายการเมืองต้องประชุมเพื่อหาทางลดข้อบังคับ เพราะมิเช่นนั้นการดำเนินการทางธุรกิจจะไม่อาจทำได้ คำว่าบูรณาการระหว่างรัฐบาล เอกชน และประชาชนจึงสำคัญมาก

ถึงเวลาต้องมีการทบทวนโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐใหม่ อย่าง กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ก็มีกีฬามาแปะไว้ ทั้งที่การท่องเที่ยวสร้างจีดีพีในระดับร้อยละ 20 ของทั้งหมด จำเป็นต้องตั้งสภาให้ผู้ประกอบการมาหารือกัน

หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเป็นภารกิจที่ใหญ่พอสมควรที่ต้องมาแทนที่การรวมศูนย์ไว้ ให้เป็นเพียงแค่กรมการปกครองส่วน ท้องถิ่นในส่วนกลาง ซึ่งจำเป็นต้องลดลง เพื่อให้ท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณาแต่ละเรื่องให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

การทำธุรกิจต้องเปิดโอกาสให้รายกลางรายเล็ก ส่วนกลางยังจำเป็นต้องดูแลบางโครงการก็จริงไม่อาจดูแลได้ทั่วถึง จำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานราชการให้เหมาะสม แก้ไขกฎให้เอกชนดำเนินการได้อย่างราบรื่น

รัฐบาลต้องเลิกทำตัวรู้ดี แล้วปรับ มาทำภารกิจที่เหมาะสมจำเป็นเท่านั้นพอ ถ้าเสนออะไรได้ตอนนี้คืออยากให้คนเติมน้ำมันมีความสุข โดยเฉพาะดีเซล สำหรับภาคขนส่ง ราคาทุกวันนี้ไม่ได้ต่างจากวันที่น้ำมันในตลาดโลกราคาพุ่งสูงเลย เพราะใต้รัฐบาลนี้มีการเพิ่มภาษีดีเซล 2 ครั้ง รวม 6 บาทต่อลิตร

ภารกิจของรัฐในอนาคตต้องดูแลราคาสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น ถือเป็นหน้าที่เพื่อเป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ทั้งยังต้องบูรณาการส่วนราชการ เอกชน ประชาสังคม เอ็นจีโอ ชุมชน ก็ควรมีโอกาสปรึกษาหารือในการทำงานร่วมกัน เพื่อปลดปล่อยเศรษฐกิจไทยให้มีศักยภาพพร้อมแข่งขัน

สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ

พรรคภูมิใจไทย

โพลล่าสุดประชาชนอยากให้พรรค การเมืองออกนโยบายช่วยเหลือ 4 ข้อ มากที่สุด คือ 1.เศรษฐกิจปากท้อง ของเกษตรกรและประชาชน 2.พัฒนาเศรษฐกิจ การค้าการท่องเที่ยว และสร้างรายได้ 3.พูดจริงทำจริง พัฒนาจังหวัด ท้องถิ่นให้เจริญ และ 4.พัฒนาระบบขนส่งมวลชน การศึกษา พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ปัญหาเกิดจากรายได้อยู่ที่ภาคอุตสาหกรรมมากกว่า ภาคเกษตรกร ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงจน ซ้ำซ้อน ไม่อาจเปลี่ยนให้ไปทำอาชีพอย่างอื่นได้เพราะนี่คือวิถีชีวิต เศรษฐกิจเมืองรองและเมืองเล็กก็ไม่ได้รับการเหลียวแล

วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยที่ผ่านมาใช้หลักความคุ้มค่ามากกว่าการให้โอกาส นี่คือส่วนหนึ่งของความเหลื่อมล้ำ อย่างภาษีมรดกไม่เห็นคนรวยคนไหนได้รับผลกระทบ มีแต่คนจนพ่อเสียชีวิตต้องไปขายนามาเสียภาษีรับมรดก

ภาษีที่ดินก็ชัดเจนที่สุด คนรวยมีเงินพอจ่ายแล้วแต่คนชั้นกลางและคนชั้นล่างต่างหากคือคนที่ต้องรับภาระ กฎหมายไทยเหมือนเรื่องตลก เหมือนถูกออกมาเพื่อรังแกคนทำมาหากิน ภูมิใจไทยจะลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ทั่วโลก การเข้ามาของเทคโนโลยี ก่อให้เกิดความปั่นป่วน ไทยเจอกับความถดถอยทางการเมือง การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว จึงเป็นปัญหาคือ 1.อัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ประชาชนอยู่อย่างยากลำบากมากขึ้น 2.ขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยถดถอยลง 3.ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้นอันดับต้นๆ ของโลก

ต้นตอของปัญหาคือ ผู้บริหาร ประเทศปรับตัวไม่ได้กับโลกสมัยใหม่จึงอยู่กับชุดความคิดอำนาจนิยม รวมศูนย์อำนาจ ตามมาด้วยแนวคิดความสงบเรียบร้อยในทุกมิติมากกว่าสิ่งอื่นใด รวมกับความไม่เข้าใจของผู้มีอำนาจที่ว่าสังคมเคลื่อนตัวไปสู่ยุคหลังอุตสาหกรรมแล้ว ส่งผลให้ออกนโยบายหลายอย่างที่มีปัญหา

เช่น เศรษฐกิจที่ไม่เติบโตตอนนี้ รัฐบาลนี้กระตุ้นเศรษฐกิจใช้เงินมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมามากกว่าล้านล้านบาทแต่กลับไม่เป็นผล อย่างบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคนบังคับให้ใช้ในร้านธงฟ้าประชารัฐ คนไม่สะดวก เงินก็จะไม่ออกมาหมุนเวียน

การใช้จ่ายเงินจากภาครัฐ กลายเป็นทำให้เกิดการกระจุกตัวของเงินอยู่แค่นั้น บางเรื่องอาจเกิดจากแรงกดดันของทุนขนาดใหญ่ เช่น การนำเข้าสินค้าแล้วไปซ้ำเติมสินค้าเกษตร ตลอดจนความไม่กล้า เจรจาต่อรองกับต่างประเทศ เช่น การประมง

ความคิดเหล่านี้จึงเก่า เป็นอนุรักษ นิยมรวมศูนย์ ไปไม่ได้กับเศรษฐกิจ ใหม่ การผลักดันไทยแลนด์ 4.0 พร้อมไปกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็ยิ่งซ้ำเติมความไม่เข้าใจ การลดแลกแจกแถมเป็นเพียงการหวังผลเฉพาะหน้า

การปฏิรูปไม่มีหลักคิดตั้งแต่ต้น ใช้คำว่าปฏิรูป จนเฝือมาก ทั้งที่มันหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบ เชิงพื้นฐาน ต้องลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชนในทุกทาง ต้องแก้ไขหลังการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคการเมืองต้องมีวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน เพื่อพาประเทศออกจากปัญหา ต้องไล่แก้ไขปัญหาในภาพรวม ไม่ใช่ทีละเปลาะ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน