ผลสะเทือนภายหลังการเผยแพร่บทความพิเศษ”8 เหตุผลที่ผมไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีก” จาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

คือ คำถามที่ว่าใครเหมาะสมจะเป็น “นายกรัฐมนตรี” ต่อจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

น่าสนใจก็ตรงที่มีแนวในการเสนอ 2 หนทาง

หนทาง 1 ย่อมเป็นบุคคลที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคการ เมืองและกำลังจัดส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

หนทาง 1 ย่อมเป็นบุคคลที่อยู่นอกเหนือไปจากพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นคนอย่าง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น

นี่ย่อมเป็นผลสะเทือนจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

แม้ว่าชื่อของ นายอานันท์ ปันยารชุน จะปรากฏขึ้นอันเท่ากับเป็นการฟื้นประสบการณ์ทางการเมืองภายหลังสถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535

แต่หนทางที่ค่อนข้างจำหลักอย่างหนักแน่นกลับอยู่ที่หนทางที่อาศัย “การเลือกตั้ง”มาเป็นเกณฑ์กำหนดและตัดสินใจ

เพราะนี่ย่อมเป็นวิถีแห่งระบอบประชาธิปไตย

หากอ่านบทความ”8 เหตุผลที่ผมไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีก” ก็เท่ากับเป็นคำตอบอย่างดียิ่งของกระบวนการ”รัฐประหาร”

นั่นก็คือ ปฏิเสธสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าเป็นความสำเร็จนับแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้น

นั่นก็คือ ปฏิเสธ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นั่นก็คือ ปฏิเสธการหาทางออกให้กับประเทศโดยกระบวน การ “รัฐประหาร” และนั่นก็คือ ต้องยึดมั่นในกระบวนการทางประชาธิปไตย

กระบวนการประชาธิปไตยต่างหากคือ “คำตอบ”

ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะตัดสินใจอย่างไรในทางการ เมือง แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคสช.จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ

เป็นหัวข้อเพื่อหา”คำตอบ”จาก”ประชาชน”

นั่นก็คือ จะสานต่อสิ่งที่คสช.และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557

หรือจะปฏิเสธ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน