พลันที่เพจ”สามัคคีก่อนการเลือกตั้ง”ปรากฏขึ้นในวันที่ 17 มกราคม ก่อนการนัดชุมนุมของ “คนอยากเลือกตั้ง” บรรดาคนจมูกไวใน ทางการเมืองก็เริ่มสำเหนียก

สำเหนียกจาก “กลิ่น” แปลกแปร่งในทางการเมือง

เป็นความแปลกแปร่งที่เริ่มแน่ใจว่า การเลื่อนการเลือกตั้งจากที่เคยประกาศต่อชาวโลกว่าเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ น่าจะเป็นเช่นเดียวกับที่เคยประกาศมาแล้ว

ไม่ว่า”ปฏิญญาโตเกียว” ไม่ว่า”ปฏิญญานิวยอร์ค” ไม่ว่า”ปฏิญญาทำเนียบขาว” ไม่ว่า”ปฏิญญาลอนดอน” และทำให้ประเมิน กว้างไกลว่าอาจยาวไปหลังเดือนพฤษภาคมด้วยซ้ำ

ทุกอย่างเป็นไปตามยุทธศาสตร์ “เขาอยากอยู่ยาว”อันเป็นบทสรุปเฉียบคมจาก นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ เมื่อปี 2558

ปรากฏการณ์ในแบบเพจ “สามัคคีก่อนการเลือกตั้ง”ชวนให้เกิดนัย ประหวัดไปยังสถานการณ์ก่อนเดือนตุลาคม 2516 และก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557

บทสรุปเช่นนี้ต้องศึกษาจากบริบทหรือสภาพแวดล้อมในทาง การเมือง

1 เป้าหมายของเพจสะท้อน”ไม่อยาก”เลือกตั้ง

1 เป้าหมายเฉพาะหน้าคือต้องการดับเครื่องชนกับ”กลุ่มคน อยากเลือกตั้ง”

ไม่ว่าวันที่ ไม่ว่าเวลา ไม่ว่าสถานที่อยู่ที่เดียวกัน

ขณะเดียวกัน 1 เป็นการเคลื่อนไหวภายหลังจากที่ “คสช.”ออกมาระบุว่า “คนอยากเลือกตั้ง” ต้องการป่วน ต้องการสร้างความวุ่นวาย

นี่คือการปูพื้นก่อนเกิดปรากฏการณ์”ม็อบชนม็อบ” หรือ”ม็อบ กินม็อบ”ก่อนการนองเลือดเมื่อเดือนตุลาคม 2519 และก่อนการปะทะบริเวณใกล้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อปี 2557

เป็นรูปแบบของ”ปฏิบัติการ IO”จากยุค”สงครามเย็น”

ไม่ว่าปรากฏการณ์”ม็อบกินม็อบ” ไม่ว่าสถานการณ์การปะทะระหว่างมวลชนล้วนมีเป้าหมายอันเด่นชัด

การนองเลือดเดือนตุลาคม 2519 ก็มาจากปฏิบัติการนี้

การปะทะยึดรถเมล์และมีการยิงต่อสู้ก่อนรัฐประหารเดือน พฤษภาคม 2557 ก็มาจากปฏิบัติแบบนี้

บางทีเป้าหมายอาจมิใช่”เลื่อน”หากแต่เป็นเพื่อ”เลิก”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน