อะไรควรไม่ควร

คอลัมน์ บทบรรณาธิการ

อะไรควรไม่ควร – การแสดงออกด้านความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา ในงานฟุตบอลประเพณีธรรม ศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 73 นอกจากสะท้อน บรรยากาศทางสังคมที่เปิดกว้างอีกครั้ง ยังบ่งบอกว่าสถาบันวิชาการยังคงมีส่วนร่วมสำคัญในการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็น สำคัญทางสังคม

หลังจากหลายปีมานี้นับจากเหตุรัฐประหาร มักมีเจ้าหน้าที่กองทัพหรือฝ่ายความมั่นคงเข้าไปตรวจสอบขบวนล้อการเมืองของ นิสิตนักศึกษา อยู่เสมอ

ส่วนครั้งนี้คสช.ระบุว่าเป็นการขอความร่วม มืออย่าทำอะไรให้เกินเลยทำให้ประเทศชาติเสียหาย และย้ำว่าการสร้างความสนุกสนานต้องมีมาตรฐาน อ้างแต่ประชาธิปไตยไม่ได้

แนวคิดเช่นนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่สะท้อนว่า ฝ่ายผู้ปกครองยังคงมองการแสดงออกของเยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วยความไม่ไว้วางใจนัก

คําสั่งสอนว่าอะไรควรหรือไม่ควร เป็นเรื่องที่ผู้มีประสบการณ์สูงกว่าอาจแนะนำคนรุ่นใหม่ได้ แต่ไม่ควรหวาดระแวงว่าเยาวชนจะตระหนักเองไม่ได้

กรณีขบวนล้อการเมืองเป็นการทำงานของ หมู่คณะ หรือกรณีกลุ่มแร็พเปอร์รุ่นใหม่เผยแพร่เพลงประเทศกูมี ย่อมต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือก ทักท้วง ถกเถียงและแก้ไขจนถึงจุดที่เห็นร่วมกันมาแล้ว

อีกทั้งผลกระทบของการแสดงแบบนี้เป็นเพียงสิ่งที่สะท้อนความคิดเห็นด้านหนึ่งที่ไม่ถึงกับทำให้ประเทศชาติเสียหายได้

ตรงกันข้ามกับการตัดสินใจของผู้มีอำนาจที่ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศชาติในทุกๆ เรื่อง

ประเด็นว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำในการแสดง ความคิดเห็น จึงควรเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตักเตือนสั่งสอนผู้ มีอายุน้อยกว่า

การปฏิบัติของผู้อ่อนเยาว์ต่อผู้อาวุโสกว่า ด้วยความสุภาพอ่อนน้อมตามประเพณีปฏิบัติของสังคมไทยเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการแสดงออกทางความคิด หรือการใช้สิทธิในการเลือกตั้งที่หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกันก็เป็น อีกเรื่องหนึ่ง

ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกกลุ่มมีสิทธิเรียกร้องขอนโยบายที่เหมาะกับตน เช่น อาจเรียกร้องเรื่องการศึกษาของคนรุ่นใหม่ หรือสวัสดิการของผู้สูงวัย มาก่อนการจัดซื้ออาวุธ

เมื่อพรรคใดได้เป็นรัฐบาลแล้วจึงจะได้ข้อสรุปว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน