กระแส “หนักแผ่นดิน” เกิดขึ้นในบรรยากาศที่บนเวทีปราศรัยพรรครวมพลังประชาชาติไทย นำเสนอกระบวนการต่อต้าน”อ้ายตัวร้าย” ทางการเมืองขึ้นอย่างเหมาะเจาะ

น่าสังเกตที่คำว่า “อ้ายตัวร้าย” อันมาจากพรรครวมพลังประชาชาติไทยแยกจำแนกออกเป็น 2

1 เป็นอ้ายตัวร้าย”เก่า” 1 เป็นอ้ายตัวร้าย”ใหม่”

หากดูบทบาทของบุคลากรที่ประกอบส่วนขึ้นเป็นแกนนำของพรรครวมพลังประชาชาติไทย ไม่ว่าจะเมื่ออยู่กับพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเมื่ออยู่กับกปปส.

ก็จะมองออกแทงทะลุว่าอ้ายตัวร้าย”เก่า”เป็นพรรคใด อ้ายตัวร้าย”ใหม่”เป็นพรรคใด

นั่นย่อมตรงกับข้อเสนอให้ฟังเพลง”หนักแผ่นดิน”

ยิ่งเมื่อ”ไทยรัฐทีวี”นำเอาโฆษกจากพรรครวมพลังประชาชาติไทย กับโฆษกจากพรรคอนาคตใหม่มา “ดีเบต”กันในเรื่องงบประมาณของกระทรวงกลาโหม

ยิ่งสะท้อนความแจ่มชัดในแนวคิดและความโน้มเอียงในทาง การเมือง

เมื่อประสานกับแถลงยาวเหยียดจากพรรคพลังประชารัฐ

“จริงๆแล้วกองทัพไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และอย่าดึงกองทัพมาเกี่ยวข้องกับการเมือง”

ก็ยิ่งทำให้ภาพของ 2 พรรค 2 กลุ่มแจ่มชัด

2 กลุ่มแรกคือ พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย คิดอย่างไร 2 กลุ่มหลังคือ พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ คิดอย่างไร

ไม่เพียงต่างกันต่อประเด็นอันเกี่ยวกับ “กองทัพ” หากยังต่างกันในประเด็นอันเกี่ยวกับ “รัฐประหาร”

ใครเป็น “อ้ายตัวร้าย” ใคร “หนักแผ่นดิน”

หากไม่ย้อนกลับไปศึกษาการเมืองตั้งแต่ยุคก่อนรัฐประหารเดือน กันยายน 2549 และยุคก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 ก็ อาจจะไม่เข้าใจ

เข้าใจในความคิดของพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาติไทย

ความคิดของพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่

เข้าใจต่อรหัสนัยของคำว่า”อ้ายตัวร้าย”ว่าเชื่อมโยงกับ”หนัก แผ่นดิน”อย่างไร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน