การจัดเวทีปราศรัยใหญ่ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ณ สวนเบญจสิริ ริมถนนสุขุมวิท เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม ชี้อนาคตทั้ง ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย

ที่มีหลายคนสรุปว่า นี่คือความพยายามฟื้น”มวลมหาประชาชน” ขึ้นมาอีกครั้ง

เพียงแต่ว่าความพยายามอยู่ที่ไหนความพยายามอยู่ที่นั่น

บรรยากาศของการชุมนุมในด้านหนึ่งจึงเป็นการนำเอาภาพอันรุ่งเรืองในห้วงแห่งการชัตดาวน์กทม. ชัตดาวน์การเลือกตั้งมาตอกย้ำ

ขณะเดียวกัน ด้านหนึ่งจึงเป็นการลำเลิกบุญคุณและความ แค้นในทางการเมือง

แต่ที่น่าเศร้าก็คือ ปริมาณของ”มวลมหาประชาชน”

จากที่เคยมี”มวลมหาประชาชน”เรือนล้าน กลายเป็น”มวลมหาประชาชน”เรือนพัน

นี่ย่อมเป็นสภาพอย่างเดียวกับ”พันธมิตร”

ไม่ว่าก่อนหรือหลังรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 พันธ มิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สามารถระดมมวลชนเข้าร่วมโดยพื้นฐานเป็น”เรือนหมื่น”และทะยานไปสู่”เรือนแสน”

สามารถยึด “ทำเนียบรัฐบาล” สามารถยึด”สนามบิน”ไม่ว่าที่ ดอนเมือง ไม่ว่าที่สุวรรณภูมิ

แต่ภายหลังสถานการณ์ยุบพรรคพลังประชาชน ภายหลัง สถานการณ์พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคภูมิใจไทยจัดตั้งรัฐบาลในเดือนธันวาคม 2551

การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในกรณี เขาพระวิหารก็มีมวลชนเข้าร่วม “เรือนพัน”

เหมือนที่สัมผัสได้จากสวนเบญจสิริ ริมถนนสุขุมวิท

ชะตากรรมของ “กปปส.”จึงดำเนินไปเหมือนกับชะตากรรมของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”

ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ยกระดับอีกขั้นหนึ่งด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เช่นเดียวกับ กปปส.ที่จัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย

ถามว่าในที่สุดเส้นทางของพรรคการเมืองใหม่เป็นอย่างไร

คนที่ตอบได้ดีที่สุดมิใช่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล หากเป็น นายสมศักดิ์ โกศัยสุข กับ นายสุริยะใส กตะศิลา

คำตอบนี้จะเห็นได้จากกรณีพรรครวมพลังประชาชาติไทย

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน