ถามว่าทั้งๆที่มีความเชื่อตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้วว่าโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา จะเอนไปร่วม กับพรรคพลังประชารัฐมีสูงอย่างสูงยิ่ง

กระทั่งมีข่าว”ปล่อย”หลุดออกมาว่า มีการพบกันระหว่าง 4 พรรคนี้ในคืนวันที่ 24 มีนาคม

เป็นการพบกัน ณ ค่ายทหารแห่งหนึ่ง

กระทั่งมีข่าว”ปล่อย”เพิ่มเติมเข้ามาอีกว่ามีการพบกันระหว่างหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ กับบิ๊กคสช.คนหนึ่งที่เคยมีบทบาทในคืนวันที่ 24 มีนาคม

ถามว่าเหตุใดจึงต้องรอมติพรรคไม่ว่าจะจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะจากพรรคภูมิใจไทย หรือพรรคชาติไทยพัฒนา

คำตอบอยู่ที่สภาพการเมืองหลังวันที่ 24 มีนาคม

1 เป็นการเมืองที่เด่นชัดยิ่งว่าพรรคเพื่อไทยได้ 136 ขณะที่พรรค พลังประชารัฐได้ 116

1 เป็นการเมืองที่เปิดโฉมหน้ากกต.ออกมาล่อนจ้อน

ไม่เพียงก่อนและระหว่างการเลือกตั้ง หากแต่เมื่อปล่อยสูตร คำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อออกมาพร้อมกับ 11 ส.ส.จาก 11 พรรค การเมือง อันนำไปสู่ปรากฏการณ์ 126 ส.ส.

126 ส.ส.ประสานกับ 250 ส.ว.เท่ากับ 376

1 เป็นการเมืองที่พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนชาวไทย ผนึกพลัง

ลงนามในสัตยาบันร่วมกันต่อต้านการสืบทอดอำนาจคสช.

1 เป็นการเมืองที่พรรคเพื่อไทยกับพรรคอนาคตใหม่ผลัดกันรุก ผลัดกันรับเหมือนกับจะเป็นการกดดันต่อพรรคพลังประชารัฐ

แท้จริงแล้ว เป้าหมายอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา

เพิ่มความสลับซับซ้อนให้กับการสัประยุทธ์ทางการเมือง

หากประเมินผ่านผลการสำรวจล่าสุดของ”สวนดุสิตโพล”เด่นชัดยิ่ง ว่าการขับเคลื่อนของ 7 พรรคต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.เริ่มบังเกิดผล

1 ก่ออาการงันชะงักต่อพรรคการเมืองที่ถือได้ว่าเป็นขั้วที่ 3

1 บังเกิดเป็นกระแสใหญ่ในทางสังคม ปลายหอกพุ่งเข้าโดย ตรงไปยังคสช.และพรรคพลังประชารัฐ

กลายเป็น”ชะงัก”ที่ปักอยู่”กลางหลัง”ไปยาวนาน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน