สัปปายะสภาสถาน : รัฐสภาไทย : รู้ไปโม้ด โดย..น้าชาติ ประชาชื่น

สัปปายะสภาสถาน – อาคารรัฐสภาใหม่เป็นอย่างไร สร้างยากหรืออย่างไรถึงยังไม่เสร็จ สมาชิกรัฐสภาชุดล่าสุดจึงต้องไปใช้สถานที่อื่นๆ

นายห่วง

ตอบ นายห่วง

อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ หรือ สัปปายะสภาสถาน เป็นอาคารรัฐสภาแห่งที่ 3 ของประเทศไทย สร้างแทนที่อาคารเดิมที่ถนนอู่ทองในข้างสวนสัตว์ดุสิต ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โครงการริเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม ..2551 รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ในการประชุมจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จนมีมติเลือกที่เดินราชพัสดุถนนทหาร (เกียกกาย)

สัปปายะสภาสถาน

สัปปายะสภาสถาน เป็นผลงานชนะเลิศการประกวดแบบของ ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) วางเสาเข็มวันที่ 8 มิถุนายน 2556 มีบริษัทซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเดิมต้องแล้วเสร็จภายใน 900 วัน หรือในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 แต่ปัจจุบันโครงการล่าช้าออกไป คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 15 ธันวาคม 2562

พื้นที่โครงการอยู่บนที่ดิน 123 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอยในอาคาร 424,000 ตารางเมตร ที่จอดรถทั้งสิ้น 2,069 คัน และพื้นที่สีเขียวรวม 115,529 ตารางเมตร ใช้งบประมาณ 22,987 ล้านบาท มีความสูงจากฐานถึงยอดเจดีย์พระสุเมรุ 134.56 เมตร ภายในประกอบด้วยส่วนสภา ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน

นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประชุม ห้องสัมมนา สโมสรจัดเลี้ยง ห้องทำงาน .. และ .. และด้วยพื้นที่ในอาคารขนาดดังกล่าว ทำให้เมื่อก่อสร้างเสร็จ สัปปายะสภาสถานจะเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก แทนที่อาคารรัฐสภาแห่งโรมาเนีย ซึ่งมีพื้นที่ในอาคาร 365,000 ตารางเมตร เป็นรองเพียงอาคารเดอะเพนตากอนของสหรัฐอเมริกาที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตร

สัปปายะสภาสถาน

สัปปายะสภาสถาน เป็นการรวมคำระหว่างสัปปายะกับสภาสถานสัปปายะ คือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่มาเกื้อกูลให้การประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นไปด้วยความสบายกายสบายใจ เมื่อรวมกับสภาสถาน จึงมีความหมายว่า สภาที่มีแต่ความสงบร่มเย็นสบาย

อาคารรัฐสภาไทยเปลี่ยนสถานที่มาแล้ว 2 ครั้ง สถานที่แรกคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งใช้มาตั้งแต่หลังการปฏิวัติสยาม 2475 จนในปี ..2517 จึงได้ย้ายไปที่อาคารรัฐสภาแห่งที่ 2 บริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต (สวนสัตว์เขาดิน) จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสถานที่ที่เริ่มคับแคบลงเมื่อจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐสภาได้แก้ปัญหาโดยการเช่าพื้นที่บางส่วน จนต่อมาในปี 2535 จึงเริ่มมีแนวคิดก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

ยังมีรายละเอียดจากรายงานของบีบีซีไทยว่า สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 24 มี.. 2562 และสมาชิกวุฒิสภาชุดเฉพาะกาล จะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติชุดแรกที่ได้เข้าไปทำหน้าที่ในอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่จะเป็นเมื่อไรนั้นยังไม่มีใครบอกได้ เพราะรัฐสภาแห่งใหม่นี้ยังสร้างไม่เสร็จแม้จะล่วงเลยกำหนดเดิมมาถึง 4 ปีแล้วก็ตาม

สำหรับ ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติด้านสถาปัตยกรรม เป็นผู้บริหารสถาบันอาศรมศิลป์ เว็บไซต์สถาบันอาศรมศิลป์อธิบายเบื้องหลังการออกแบบสัปปายะสภาสถานว่า มาจากการถอดรหัสสถาปัตยกรรมแบบแผน ไตรภูมิ เพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัปปายะสภาสถานที่เอื้อให้ระลึกถึงความพิสุทธิ์และการใช้สติปัญญาในการประกอบกรรมดี และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

สัปปายะสภาสถาน

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของโครงการและเป็นผู้อนุมัติขยายเวลาการก่อสร้างให้บริษัทซิโนไทย 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายขยายไปจนถึงวันที่ 15 .. 2562 ชี้แจงว่า สาเหตุหลักที่การก่อสร้างล่าช้า เพราะหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ส่งมอบที่ดินให้ล่าช้า และมีการปรับแบบก่อสร้างบางส่วน

นอกจากนี้ การก่อสร้างยังเจอปัญหาทั้งการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลในการขนย้ายดินจากพื้นที่ก่อสร้างไปไว้ในที่ดินเอกชนแทนที่จะนำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญา การคัดค้านเรื่องการใช้ไม้สักจำนวน 5,000 ท่อนมาประดับอาคารตามแบบที่กำหนด พื้นที่จอดรถชั้นใต้ดินรองรับปริมาณรถได้น้อยกว่าที่ระบุไว้ ตลอดจนงบประมาณการวางระบบสารสนเทศที่สูงถึงหลายพันล้านบาท

เว็บไซต์โครงการก่อสร้างสัปปายะสภาสถานของสำนักงานเลขาฯ สภาผู้แทนราษฎรรายงานความคืบหน้าการก่อสร้างล่าสุด วันที่ 8 มี..2562 ว่าโครงการคืบหน้าไป 60.1 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าเป้าหมายซึ่งตั้งไว้ที่ 66.6 เปอร์เซ็นต์ เหลือเวลาการก่อสร้างตามสัญญาที่ขยายรอบ 3 อีก 282 วัน

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน