แล้วกรณีของ 41 ส.ส.ที่ระบุว่าถือครองหุ้นสื่อก็ได้กลายเป็นปมระอุในทางการเมืองขึ้นมา พลันที่เรื่องอันส่งจากประธานรัฐสภาไปยังศาลรัฐธรรมนูญครบ 7 วัน

แม้ไม่มีคำแถลงใดๆจากศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะเดียวกัน พรรคพลังประชารัฐก็ได้ทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญว่า ไม่ควรที่จะมีคำสั่งให้ 41 ส.ส.ต้องยุติบทบาทในฐานะส.ส.

บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญก่อให้เกิดการเปรียบเทียบขึ้นมา โดยอัตโนมัติ

เพราะก่อนหน้านี้เคยมีคำสั่งในกรณีของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กระทั่งกลายเป็นเรื่องครึกโครมในทางการเมือง

คราวนี้ก็มาถึงกรณีของ 41 ส.ส.

กล่าวในแง่ของรายละเอียด กรณีของ 41 ส.ส.อาจแตกต่างไปจาก กรณีของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แต่กรณีของ 41 ส.ส.ก็มีคำพิพากษาจากศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งเป็นบรรทัดฐานอยู่

ประเด็นอยู่ที่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีท่าทีอย่างไรต่อเรื่องที่เสนอโดยประธานรัฐสภา

จะรับหรือไม่รับ

เพราะเมื่อรับก็จะต้องมีเหตุผล ขณะเดียวกันเพราะเมื่อไม่รับก็จะต้องมีเหตุผล

ยิ่งกว่านั้นจะใช้”บรรทัดฐาน”อย่างไร

หากถือบรรทัดฐานอย่างที่กระทำต่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ก็จะชี้แจงอย่างไร หากไม่ถือบรรทัดฐานอย่างที่กระทำต่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ก็จะชี้แจงอย่างไร

อย่างแรกที่สุดก็คือ เมื่อเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้ว 7 วันผลจะดำเนินไปในแบบใด คำถามเหล่านี้จำเป็นหรือไม่ที่ศาลรัฐธรรม นูญจะต้องตอบ

นี่คือ “เผือกร้อน”ที่อยู่ในมือของ”ศาลรัฐธรรมนูญ”

คล้ายกับปัญหานี้จะเริ่มจากกรณีของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แต่หากพิจารณาอย่างถ่องแท้ปัญหานี้มาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และสัมพันธ์กับศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง

เริ่มต้นจากการผลักดันของกกต.ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ

ตามมาด้วยคำสั่งให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ยุติบทบาทในระหว่างรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

คำสั่งนี้จะมีผลต่อ 41 ส.ส.ที่เรื่องอยู่ในศาลหรือไม่

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน