FootNote : โฉมเผด็จการ โฉมประชาธิปไตย สัมผัสได้ ผ่าน สภาผู้แทนราษฎร

นอกเหนือจากการกำหนดรายชื่อ 3 ป. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พล.อ.”ป๊อก”อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในจุดอันเป็นเป้าแล้ว
รายชื่อ นายอุตตม สาวนายน รายชื่อ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
รายชื่อ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รายชื่อ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
ก็ชวนให้ระทึกเป็นอย่างสูง
ถามว่าทั้งหมดนี้จะหลีกเลี่ยงจากการตกเป็น”เป้า”ของพรรค ฝ่ายค้านได้หรือไม่
คำตอบเด่นชัดอย่างยิ่งว่า ยากในระดับ”ยากส์”
เพราะว่าความมั่นใจต่อ “นโยบาย”จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาดหากไม่มีความมั่นใจต่อ”รัฐมนตรี”

แม้โดยหลักการการอภิปรายระหว่างการแถลงนโยบายแตกต่างไปจากการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ การแถลงนโยบาย จะไม่มีการลงมติ
แต่เมื่อเอ่ยถึง”นโยบาย”ก็ต้องสาวไปยัง”รัฐมนตรี”ผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบาย
นี่คือไฟท์บังคับในทางการเมือง
ปมเงื่อนอยู่ที่ว่าผู้อภิปรายจะสามารถนำเอาข้อมูลและความ เป็นจริงมาร้อยเรียงและปรับประสานถึงความเหมาะสมระหว่างตัวบุคคลกับนโยบายได้อย่างไร
เรื่องนี้อาศัยโวหารเพียงประการเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องแอบอิงอยู่กับข้อมูลและความเป็นจริง
ข้อมูลและความเป็นจริง คือ คำตอบสุดท้าย
ทำไมจึงตั้งข้อสงสัยต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำไมจึงตั้งข้อกังขาต่อ นายอุตตม สาวนายน ทำไมจึงตั้งข้อคลางแคลงต่อ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
คนที่จะตัดสินคือประชาชน คือสังคมที่รับฟังอยู่ที่บ้าน

กระบวนการแถลงนโยบายและอภิปราย กระบวนการอภิปรายทั่ว ไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ไม่เคยปรากฏมาตลอด 5 ปีแม้จะมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
เพราะนั่นคือ รูปแบบอันเป็น”เผด็จการ”
แต่เมื่อผ่านการเลือกตั้งแม้กฎกติกาจะอัปลักษณ์เพียงใดแต่ก็ยังมีร่องรอย”ประชาธิปไตย”ดำรงอยู่
นี่คือสภาพการณ์ใหม่ นี่คือโฉมใหม่ในทางการเมือง

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน