มี 2 ประเด็นที่ทำให้กรณีวิสามัญฆาตกรรม นายชัยภูมิ ป่าแส มากด้วยความละเอียดอ่อน

เป็นประเด็นในทาง “ความคิด”

1 เป็นความละเอียดอ่อนอันเป็นภาพสะท้อนของการเหยียดในทาง “เชื้อชาติ”

1 เป็นความละเอียดอ่อนในเรื่องของ “ความตาย”

ต้องยอมรับว่าการตายของ นายชัยภูมิ ป่าแส เป็นการตายอย่างที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

อย่างนั้นคงไม่เรียกว่า “วิสามัญฆาตกรรม”

การตายอย่างที่เรียกว่า “วิสามัญฆาตกรรม”จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเป็นกรณีพิเศษ

ถือได้ว่าเป็นการตรวจสอบจาก”ภายใน”

ขณะเดียวกัน เมื่อ นายชัยภูมิ ป่าแส เป็นชนเผ่าลาหู่ การลงความเห็นแต่ละคำ แต่ละบรรทัด จึงเท่ากับเป็น”เงาสะท้อน”ในทางความคิด

“เคารพ” หรือว่าเป็น”การเหยียด”ในทาง “เชื้อชาติ”

หากพิจารณาจากการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 28 มีนาคมจาก พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท

นี่แหละคือ ความเป็น”ผู้ใหญ่”

แม้จะยืนอยู่ข้างเดียวกับ “ลูกน้อง”ในฐานะ”ผู้บังคับบัญชา” แต่ก็มากด้วยความสุขุม

มิใช่”สุขุม” อย่างธรรมดาหากตามมาด้วย”คัมภีรภาพ”

ท่วงทำนองอย่างนี้แหละคือท่วงทำนองแห่ง”สุภาพบุรุษ”อย่างที่ถอดออกมาจาก “GENTLEMAN”

ตามที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ต้องการ

พื้นฐานในทางความคิดก็คือ ไม่ว่าจะเป็น “คนไทย” ไม่ว่าจะเป็น “คนลาหู่” ชีวิตของเขาก็มีความหมาย

แม้จะสงสัยว่าพัวพันกับ”ยาเสพติด”ก็ไม่ควร”ฆ่า”

กฎหมายมี ศาลสถิตยุติธรรม มีสมควรต้องนำเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม

และเมื่อตายแล้วก็ควรให้ความเคารพ

แต่ที่ผ่านมานับแต่วันที่ 17 มีนาคม ณ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ กลับมิได้เป็นไปอย่างนั้น

ผู้คนจึง”แคลงคลาง” ผู้คนจึง”กังขา”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน