รายงานพิเศษ : ก้าวแรกรัฐบาลเริ่มนับถอยหลัง

ก้าวแรกรัฐบาลเริ่มนับถอยหลัง : แค่ประดาบก็เลือดเดือด

ระเบิดศึกโหดมันฮาต่อเนื่อง 3 วัน 2 คืน สำหรับการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เต็มรูปแบบครั้งแรกในรอบ 8 ปีนับตั้งแต่การแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เมื่อเดือนส..2554

ในสมัยรัฐบาล คสช. การเมืองในสถานการณ์ไม่ปกติ มีการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ก็จริง แต่ก็เป็นการแถลงแบบขอไปที ไม่มีฝ่ายค้านทำหน้าที่อภิปรายซักถามประเด็นสำคัญต่างๆ

ถึงที่สุดการแถลงนโยบายครั้งนี้ รัฐบาลจะเอาตัวรอดไปได้ เนื่องจากไม่มีการลงมติ

แต่บรรยากาศตลอด 2-3 วันที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่คณะรัฐบาลโดยเฉพาะพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม จำเป็นต้องรับฟังและนำมาคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้ถ้วนถี่ อะไรดีนำไปปฏิบัติ ไม่ดีก็ปล่อยผ่าน

ที่สำคัญ บรรยากาศการเมืองภายใต้กลไกระบบรัฐสภา การแถลงนโยบายเป็นแค่ด่านเริ่มต้น ต่อจากนี้รัฐบาลอดีตคสช. และพล..ประยุทธ์ จำเป็นต้องเร่งปรับตัวปรับอารมณ์ให้คุ้นชินโดยเร็ว ต้องทำใจยอมรับให้ได้กับการถูกตรวจสอบ

หลังจากนี้ในอนาคตยังมีเรื่องของร่างพ...งบประมาณฯประจำปี เรื่องของกระทู้ถามต่างๆ ไปจนถึงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งฝ่ายค้านประกาศแล้วว่าจะเกิดขึ้นแน่ๆ ในระยะเวลาไม่ใกล้ไม่ไกลจากนี้

ปรับตัวไม่ได้ก็อยู่ลำบาก โดยเฉพาะการเป็นรัฐนาวาปริ่มน้ำที่พร้อมเกิดอุบัติเหตุอับปางได้ทุกเมื่อหากตั้งอยู่บนความประมาท

ด้วยเชื่อมั่นในอำนาจตนเองมากจน เกินไป

ในการแถลงนโยบายรัฐบาลที่เพิ่งจบลงไปหมาดๆ

พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งประกาศตัวเป็นผู้นำรัฐบาลจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย มีประชาชนให้การสนับสนุนผ่านระบบพรรคการเมืองมากกว่า 8 ล้านเสียง

แถลงนโยบายหลักในการบริหารประเทศ 12 ด้าน นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง แบบแร็พๆ รัวๆ ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงครึ่ง รวดเร็วกว่ากำหนดเวลาที่รัฐสภาจัดสรรไว้ให้ครึ่งชั่วโมง

อ่านข้ามไปข้ามมาจนฝ่ายค้านเวียนหัว ต้องชูมือประท้วง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาต้องงัดกติกาข้อบังคับ สั่งอ่านใหม่ให้ครบถ้วนถูกต้องตามเล่มนโยบายที่แจกจ่ายให้กับสมาชิก

เกี่ยวกับทักษะการพูดการอ่านของพล..ประยุทธ์ ต่อสมาชิกรัฐสภานั้น ไม่เท่าไหร่ เพราะมีเล่มอยู่ในมือให้ตรวจทาน ทำความเข้าใจ

แต่สำหรับประชาชนผู้ติดตามชมการถ่ายทอดสด อยู่บ้านน่าจะประสบปัญหามากพอควร คือฟังไม่ทัน บางประโยคจับใจความไม่ได้ด้วยซ้ำ

มีการตั้งข้อสังเกต ความจริงพล..ประยุทธ์ สามารถอ่านคำแถลงนโยบายให้ช้าๆ ชัดๆ กว่านี้ก็ทำได้ แต่ ไม่ทำ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าไม่ให้ความสำคัญ กับสมาชิกรัฐสภา ไม่ว่าส..รัฐบาล ส..ฝ่ายค้าน กระทั่งส..

ในส่วนส..ฝ่ายค้านไม่แปลกเพราะเป็นฝ่ายตรงข้าม แต่ส..รัฐบาลและส.. การไม่ให้ความสำคัญก็เพราะว่า สมาชิกรัฐสภาทั้ง 2 ส่วนนี้ได้เข้ามาเป็นรัฐบาล เป็นส.. ก็เพราะตนเองทั้งสิ้น

หากใครฟังการชี้แจงตอบโต้ฝ่ายค้านของนายดอน ปรมัตถ์วินัย หรือกระทั่งพล..ธวัชชัย สมุทรสาคร ก็จะเข้าใจว่าทำไมสองคนนี้ ถึงได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เป็นสมาชิกวุฒิสภา

สิ่งหนึ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นในการแถลงนโยบาย คือการที่พล..ประยุทธ์ ใช้เวทีนี้กล่าวข่มขู่คุกคามฝ่ายค้าน ให้เตรียมตัวไว้ให้ดี เพราะมีคดีค้างอยู่พันกว่าคดี

บางช่วงบางตอนยังเก็บอารมณ์ไม่อยู่ แสดงออกทางสีหน้าท่าทาง เบ้ปาก ทำตาขวาง ถึงพี่ใหญ่พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ที่นั่งอยู่ติดกันจะคอยสะกิดเตือนให้ระงับสติอารมณ์

แต่พอโดนอดีตผบ.ตร.รุ่นพี่เตรียมทหาร อภิปรายกระตุกหนวดเรื่องการเข้าสู่อำนาจเป็นนายกฯ 2 สมัย ไม่ชอบธรรมตามกฎกติกาประชาธิปไตย ก็ทำเอาตบะแตก ลุกขึ้นแลกหมัด ประกาศตัดพี่ตัดน้องกับพล...เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

เร่งอุณหภูมิในสภาให้ร้อนฉ่าเสียเอง

เวทีแถลงนโยบายรัฐบาลครั้งนี้ สิ่งที่เป็นไปตามความ คาดหมายคือ พรรคฝ่ายค้านได้อาศัยเวทีนี้ในการซ้อมใหญ่เตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

พรรคเพื่อไทยอภิปรายโจมตีนโยบายรัฐบาลจัดทำ แบบซ่อนเร้น ปิดบัง ไม่ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาประชาชน ไม่ครอบคลุม ไม่บอกที่มางบประมาณ ไม่กำหนด เป้าหมายความสำเร็จ ขาดรูปธรรมชัดเจน

คณะรัฐมนตรีผู้ขับเคลื่อนนโยบาย หลายคนมีคดีความติดตัว ยังไม่เคลียร์ ไม่มีความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ หรือแม้แต่ นายกฯ ก็มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ไม่แน่ชัดว่าขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่

การไม่ใส่ตัวเลขที่มารายได้ในการดำเนินนโยบาย แต่ละด้าน ทำให้แถลงนโยบายไม่ต่างจากการตีเช็คเปล่า

อาจไม่ครบองค์ประกอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 162 ที่บัญญัติให้การแถลงนโยบายต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ และต้องชี้แจงแหล่งที่มารายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย หรือไม่

พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายสรุป 3 ลักษณะเด่นนโยบายรัฐบาลนี้ เลื่อนลอย โลเล หลอกลวง

ตัดปะนโยบายแต่ละพรรคร่วมรัฐบาล 19 พรรค มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ ทำได้แต่นโยบายเฉพาะหน้าที่มุ่งหาเสียง นโยบายเชิงก้าวหน้าทำไม่ได้

เป็นเรื่องปกติที่คณะรัฐมนตรีจะต้องชี้แจงโต้ตอบความเห็นหรือข้อท้วงติงของฝ่ายค้านในสภา

ครั้งนี้แปลกไปบ้างตรงที่ทั้งนายกฯ และรัฐมนตรี ลุกขึ้นแลกหมัดฝ่ายค้านแบบทันทีทันใด ต่างจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลอื่น ที่มักชี้แจงตอบโต้รวดเดียว ตอนท้ายก่อนปิดประชุม แต่ก็เป็นเรื่องที่ทำได้

ส่วนรัฐบาลชี้แจงหักล้างฝ่ายค้านได้ หรือไม่ ประชาชนจะเป็นผู้ให้คะแนนตัดสิน

ตรงนี้เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ปัญหาการควบคุมอารมณ์ของนายกฯ กลายเป็นสิ่งบดบังเนื้อหาสาระในการแถลงนโยบาย และตอบข้อซักถามให้ฝ่ายค้าน ประชาชนที่เฝ้าดูอยู่ให้เข้าใจ ทำให้บรรยากาศการประชุมเสียไป

เสียคะแนน เสียอาการ เสียรังวัดอีก ต่างหาก

นอกจากบรรยากาศดุเดือดเลือดพล่าน

ยังมีอีก 2 เรื่องน่าสนใจเกิดขึ้นในเวทีแถลงนโยบายครั้งนี้

เรื่องแรก นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส..บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชาติ อภิปรายแสดงความไม่เชื่อมั่นในนโยบายรัฐบาลข้อที่ระบุ จะยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพราะผู้นำรัฐบาลชุดนี้ เคยทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญมาแล้ว

ท่านวันนอร์ในฐานะผู้อยู่ในเหตุการณ์อภิปรายเปิดโปงเบื้องหลังการรัฐประหาร 22 ..2557

ท่านชี้หน้าพวกผม บอกว่าใครอย่าคิดสู้ เพราะถึงสู้ก็สู้ไม่ได้ ผมเตรียมการเรื่องนี้มา 3 ปีกว่าแล้ว ประโยคนี้สำคัญและข้องใจจนบัดนี้ แต่ไม่มีโอกาสได้ถาม ขอถามวันนี้ว่า การเตรียมการมา 3 ปีกว่า หมายความว่าอย่างไร

กับอีกเรื่อง นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ จุดพลุเปิดประเด็นกรณีพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำครม.เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน แล้วกล่าวประโยคปฏิญาณตนไม่ครบถ้วนถ้อยคำตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 กำหนด

ตกหล่นประโยคสุดท้ายที่ว่าทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการไป

ความไม่ครบถ้วนนี้ มีผลกระทบเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของนายกฯ และคณะรัฐมนตรี รวมถึงการแถลงนโยบายที่เพิ่งจบไปหรือไม่ อย่างไร การไม่มีใครออกมาให้ความเห็นวินิจฉัย ทำให้เรื่องนี้ค้างคาใจ รอการคลี่คลายต่อไป

จากสภาพการณ์โดยรวม ถึงรัฐบาลแป๊ะคนเดิมจะรอดพ้นด่านแรกไปได้ แต่ก็สะบักสะบอมไม่น้อย

เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ต้องเจอตลอดทุกย่างก้าว

บนเส้นทางแห่งการนับถอยหลัง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน