อารมณ์ในสภา : บทบรรณาธิการ

คอลัมน์ – บทบรรณาธิการ

อารมณ์ในสภา : บทบรรณาธิการ – การทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ช่วงการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ยังคงเป็นเรื่องที่ประชาชนติดตาม ประเมินผล และติชมด้วยมุมมองต่างๆ ตามบรรยากาศปกติของสังคมประชาธิปไตย

มีทั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ ซึ่งนำเสนอข้อมูลจากการวิจัย ลงพื้นที่ และสรุปผลให้เห็นข้อบกพร่องของนโยบายรัฐบาล เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข

มีทั้งส..ที่ตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีตที่ยังส่งผลถึงปัจจุบันและอาจส่งผล กระทบต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะการใช้วิธีรัฐประหารจากกองทัพ

รวมถึง ..และส.. ที่ยังแสดงถ้อยคำสนับสนุนวิธีการเช่นนั้นระหว่างการประท้วงสมาชิกร่วมสภาเดียวกัน

แม้ว่าถ้อยคำสนับสนุนการรัฐประหาร หรือยึดอำนาจดังกล่าว อาจมาจากการใช้อารมณ์ แต่เป็นเรื่องที่ควรระวังอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งต้องเคารพหลักการประชาธิปไตย การรับฟังและให้เกียรติผู้ที่ตนไม่เห็นด้วย

หากพูดได้อย่างง่ายดายว่า ควรใช้วิธีรัฐประหารอีก ไม่ว่าเป็นช่วงเวลาสั้นๆ หรือยาวนาน 20 ปี จะเท่ากับการแสดงอันไม่เคารพประชาชนอย่างที่สุด

เช่นเดียวกับการหยิบยกบทเรียนในอดีตที่มีส..ผลักดันร่างพ...ฉบับนิรโทษกรรมแบบสุดซอย เป็นสิ่งที่ควรต้องพูดให้ถึงตอนจบ ว่าเคยก่อให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวาง จนร่างกฎหมายถูกถอนออกไปตามเสียงเรียกร้องของประชาชน

เพื่อไม่ให้ทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐสภา

การใช้อารมณ์ในการอภิปรายหรือประท้วงระหว่างการเริ่มต้นทำหน้าที่ของฝ่ายค้านและรัฐบาลภายในห้องประชุมสภา อาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ไม่ควรเพิ่มระดับจนเกินพอดี

โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลที่จะต้องพบปะตัวแทนรัฐบาลชาติอื่นๆ ควรจะแสดงวุฒิภาวะและการควบคุมอารมณ์ให้เป็น

ยิ่งเป็นบุคคลที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาก่อน ยิ่งต้องแสดงให้เห็นการปรับตัวจากรัฐบาลทหารสู่รัฐบาลพลเรือน

ตัวอย่างจากชาติเพื่อนบ้านที่เคยผ่านช่วงเวลาคล้ายกันนี้มาแล้ว คือพล..เต็ง เส่ง อดีตประธานาธิบดีของเมียนมา

นอกจากมีผลงานร่วมปฏิรูปการเมือง ถ่ายโอนอำนาจทหารสู่พลเรือน ยังวางตัวด้วยหลักความสุภาพและให้เกียรติผู้อื่นเสมอ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน