FootNote : ความรับผิดชอบ ถวายสัตย์ ปฏิญาณ เป็นของรัฐบาล หรือเป็นของฝ่ายค้าน

กรณีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนกำลังให้บทเรียนอย่างมีคุณค่ายิ่ง ทั้งในทางการเมืองและในทางความคิด
เริ่มจากคำถามที่ว่า เป็น“ความผิด”ของใคร
น่าสนใจก็ตรงที่เสียงจากฝ่ายรัฐบาล เสียงจากพรรคพลังประชารัฐมองว่าเป็นการเล่นเกมของฝ่ายค้าน
ขณะเดียวกัน เสียงจากฝ่ายค้านเห็นอย่างเป็นเอกภาพว่าต้องการช่วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องการช่วยรัฐบาลเพื่อ สร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้อง
เพราะไหนๆ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยืนยันอย่างหาญ กล้าเด็ดเดี่ยวผ่านรูปประโยคที่ว่า “ผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”
ตกลงความผิดจากกรณีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นอย่างไร

ความจริงกรณีเช่นนี้มิได้มีอะไรสลับซับซ้อน หากเริ่มต้นจากหลักแห่งอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐก็จะต้องมองหาตัวทุกข์ มองหา ปัญหา
เพราะนี่คือวงรอบที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 161 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องนำครม.ถวายสัตย์ปฏิญาณตน
จึงจะสามารถแถลงนโยบาบและลงมือปฏิบัติราชการได้
แจ่มชัดอย่างยิ่งว่าเป็นภาระในความรับผิดชอบของนายกรัฐ มนตรีและคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
กำหนดก็คือ นายกรัฐมนตรีต้องพาคณะรัฐมนตรีไปเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณตนในวันที่ 16 กรกฎาคม
ภาพและเสียงตลอดจนการนำและการถวายสัตย์ปรากฏผ่าน”ข่าวราชสำนัก”อย่างเด่นชัด
ที่กลายเป็นปัญหาเพราะ 1 เป็นการกล่าวไม่ครบถ้วนและมีการเติมเข้าไป และ 1 แม้มีการยอมรับความผิดพลาดแต่ไม่ยอมแก้ไขให้ถูกต้อง

จากวันที่ 16 กรกฎาคม เรื่อยมาจนถึงวันที่ 16 สิงหาคมที่มีการยื่น ญัติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 152 ของรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องอันเกิดจากการกระทำของรัฐบาล
เป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงความรับผิดชอบโดยวาจา แต่มิได้มีการลงมือแก้ไขผ่านการปฏิบัติที่เป็นจริงเท่านั้นเอง

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน