FootNote : บทบาท ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรณี ถวายสัตย์ ปฏิญาณตน

การปล่อยข้อมูล 1 การไม่ว่างของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในห้วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนกันยายน และ 1 การผลักดันไปสู่รูปแห่งการประชุมลับ
เหมือนกับจะเป็นการรุก เหมือนกับจะเป็นการหนามมิให้ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป มาตรา 152 เดินหน้าได้ราบรื่น
กระนั้น ก็เป็นการรุกในขณะ”ถอย”
กลยุทธ์”ไม่ว่าง”มิได้เป็นเรื่องใหม่ เพราะเป็นกลยุทธ์เดียวกันกับที่เคยหนีไม่ยอมเข้าไปตอบกระทู้ถามสดอันมาจาก นายปิยบุตร แสงกนกกุล
ขณะที่กลยุทธ์ลากดึงให้ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปให้เป็นการประชุมลับ ยิ่งสร้างปัญหาให้ยุ่งเหยิงเป็นทบเท่าทวีคูณ
นำไปสู่คำถามที่ว่าทำไมต้อง”ประชุมลับ”

ตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำครม.เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม เป็นต้นมา เรื่องนี้ก็มิได้เป็นเรื่องลับล้วนมี หมาย มีรายละเอียด
ไม่เพียงแต่ทุกคนเห็นภาพครม.แต่งเครื่องแบบงามสง่าเดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาล
หากเมื่อมีการกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนแล้วก็มีการบัน ทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน นำออกมาเผยแพร่ผ่าน”ข่าวในราชสำนัก”เป็นที่ประจักษ์
ก็มิใช่คลิปข่าวจาก”ราชสำนัก”หรอกหรือที่ทำให้ นายปิยบุตร แสงกนกกุล มองเห็นและตระหนักว่ามีความขาดตกบกพร่อง
ไม่เพียงแต่เป็นการกล่าวนำโดยไม่ครบถ้วนตามที่บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ หากที่สำคัญยังมีการเพิ่มเติมถ้อยคำเข้ามา
เพียงแต่โยนประเด็น”ประชุมลับ”ออกมาสังคมก็ตระหนักว่า เหตุใด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงไม่อยากตอบ

จากนี้จึงเห็นได้อย่างเด่นชัดว่าพฤติการณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับแต่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ได้ทักท้วงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมเป็นต้นมาคืออะไร
นี่สะท้อนตัวตน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเฉพาะ
เป็นพฤติการณ์ที่ไม่เพียงแต่ไม่ยอมรับในความผิดพลาด บกพร่อง
หากที่สำคัญก็คือ การอาศัยกลยุทธ์”หนี”มาเป็นหนทางออก

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน