FootNote เหตุแห่ง อาการ สภาโฟเบีย ของ ประยุทธ์ ถวายสัตย์

ความหวาดกลัวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อกรณีความผิดพลาดในการกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมเป็นความหวาดกลัวที่สามารถเข้าใจได้

เพราะหากถือตามบรรทัดฐานที่ นายชวน หลีกภัย กล่าวเมื่อได้รับฟังคำท้วงติงจาก นายปิยบุตร แสงกนกกุล

ก็ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่อง”ร้ายแรง”

ขณะเดียวกัน ความร้ายแรงของการกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณมิได้สัมพันธ์กับความครบถ้วนและสมบูรณ์ตามบทบัญญัติ มาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญอย่างเดียว

หากแต่ยังมีความต่อเนื่องไปยังการกระทำอื่นๆของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาและครม.ด้วยว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

ประการหลังยิ่งสร้างความหวาดหวั่นจนถึงขั้นขนลุกขนพอง

 

ขอให้พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปที่ 7 พรรคฝ่ายค้านเสนอตามมาตรา 152 ของรัฐธรรมนูญมิได้พุ่งเป้าเข้าใส่การถวาย สัตย์ปฏิญาณตนเพียงอย่างเดียว

หากที่สำคัญยังขยายกรอบไปยังการแถลงนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมอีกด้วย

สภาพก็คือ การถวายสัตย์ปฏิญาณตนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมเป็นปัญหาต่อมาตรา 161 การแถลงนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 25-27 กรกฎาคม เป็นปัญหาต่อมาตรา 163

ความหมายโดยรวมก็คือ ไม่ว่าสถานการณ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ไม่ว่าสถานการณ์เมื่อวันที่ 25-27 กรกฎาคม ล้วนมีความผิดพลาด

ผิดพลาดและขัดต่อบทบัญญัติของ “รัฐธรรมนูญ”

เท่ากับ 7 พรรคฝ่ายค้านได้เตือนรัฐบาลและ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ย้อนกลับไปเริ่มต้นใหม่โดยถือเอาวันที่ 5 มิถุนายน เป็นจุดสตาร์ท

 

ถามว่าวิธีการและทางออกที่รัฐบาลและ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำเนินมาตั้งแต่หลังวันที่ 16 กรกฎาคม ถูกต้องและเหมาะ สมหรือไม่

เรื่องนี้จึงต้องถือเอามาตรา 161 กับมาตรา 163 ของรัฐธรรม นูญมาเป็นบรรทัดฐาน

จะเอาตามใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้

แม้จะมีความเชื่อเป็นอย่างสูงว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ DESIGN มาเพื่อพวกเราก็ตาม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน