บทบรรณาธิการ

กลุ่มไอลอว์ อันเป็นการรวมตัวของนักกฎหมายมหาชนที่มุ่งเผยแพร่ความรู้โดยไม่แสวงหากำไร วิเคราะห์ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญส่งคำร้องมาให้พิจารณาว่าเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับคำถามพ่วงของประชามติหรือไม่ ว่ามีอยู่ด้วยกันสามประเด็น คือ

1) “ส.ส.มีสิทธิเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเท่านั้น” ศาลวินิจฉัยว่าการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญประเด็นนี้สอดคล้องกับผลประชามติแล้ว คือให้ส.ส. เท่านั้นที่เป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีทั้งจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง และนายกรัฐมนตรีคนนอก

โดยส.ว.ไม่มีสิทธิเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี

2) “ให้ ส.ว.ร่วมกับส.ส. ตัดสินใจเปิดทางนายกรัฐมนตรีคนนอก” จากเดิมร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ของส.ส.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสภามีอำนาจริเริ่มเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้

โดยให้การเริ่มตัดสินใจว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนนอกหรือไม่ เป็นหน้าที่ของส.ว.รวมกับส.ส.ไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมด

3) “เลือกนายกฯ คนนอกไม่จำกัดภายใน วาระแรก” จากเดิมร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 272 กำหนดให้การเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกสามารถเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว

แต่ศาลรัฐธรรมนูญให้เปลี่ยนเป็น จะเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกกี่คนก็ได้ ภายในระยะเวลา 5 ปีแรก

โดยอ้างว่าเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการออกเสียงประชามติ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านต่างๆ สำเร็จ

และบรรลุผลตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ

คําวินิจฉัยดังกล่าวไม่อยู่นอกเหนือความ คาดหมาย เพราะศาลรัฐธรรมนูญเองเป็นส่วนหนึ่งของ “กลไกพิเศษ” ที่เกิดขึ้นมาจำกัดและควบคุมการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนส่วนใหญ่

ทั้งกระบวนการสรรหา ที่มา ปูมหลัง และผลการวินิจฉัยที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่ออกไปในทิศทางดังกล่าวมาโดยตลอด

ปมเงื่อนที่ผูกเอาไว้ในวันนี้ ไม่ว่าจะโดยศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม หรือองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ได้ยึดโยงกับอำนาจของประชาชนก็ตาม

จะเป็นอีกปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ในอนาคต

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน