FootNote บนเส้นทาง แก้ไข รัฐธรรมนูญ จับตา บาทก้าว พลังประชารัฐ

ระหว่างการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒ นา และพรรคพลังประชารัฐ ในประเด็นการตั้งคณะกรรมาธิการวิ สามัญเพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

มีทั้งความเหมือนและความต่างในท่าทีและการแสดงออก

ความเหมือนอยู่ตรงที่เป็นการเสนอจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิ สามัญเพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการอันจะนำไปสู่การแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญ

แต่จุดต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่กระบวนการและวิธีการในอันที่จะบรรลุ

ประการหลังนี้แหละที่สังคมต้องเฝ้ามองอย่างใกล้ชิด

ว่าต้องการให้กระบวนการไหลเลื่อนไปด้วยความราบรื่นหรือ ว่าเป็นการวางขวากหนามตลอด 2 รายทาง

หากประเมินผ่านท่าที”ก่อน”การเลือกตั้งต้องยอมรับว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยพัฒนา มีความหงุดหงิดไม่พอใจต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 อย่างแจ้งชัด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ถึงกับเปรียบเทียบระหว่าง”ประชา ธิปไตยทุจริต” กับ “ประชาธิปไตยสุจริต”

ความต้องการโดยพื้นฐานในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ก็เพื่อทำให้เป็นประชาธิปไตย และกำหนดให้”ประชาธิปไตย สุจริต” เป็นเป้าหมาย

นี่ย่อมตรงกันข้ามกับท่าทีของพรรคพลังประชารัฐ

อย่าลืมบทสรุปที่ว่า “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ DESIGN มาเพื่อพวกเรา” อย่าลืมคำกล่าวที่ว่า “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ร่างเพื่อให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”

เมื่อพรรคพลังประชารัฐมีความเชื่อมั่นเช่นนี้จึงยากเป็นอย่าง ยิ่งที่จะพลิกเปลี่ยนกะทันหันกระทั่งอยากแก้รัฐธรรมนูญ

เว้นแต่ยิ่งแก้อำนาจยิ่งอยู่ในมือพรรคพลังประชารัฐเท่านั้น

เส้นทางการเมืองนับจากนี้เป็นต้นไปประเด็นอันเกี่ยวกับการแก้ไข รัฐธรรมนูญจึงมีความสำคัญเป็นอย่างสูง

โดยเฉพาะพรรคฝ่ายที่อยู่ใน”รัฐบาล”

ไม่ว่าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนา ล้วนอยู่ในห้วงแห่งการตรวจสอบว่าต้องการแก้รัฐธรรมนูญอย่างจริงจังและจริงใจมากน้อยเพียงใด

ตัวตนของแต่ละพรรคย่อมจะแสดงออกมาในที่สุด นี่ย่อมเป็นภารกิจสำคัญของสังคม

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน