ทั้งที่บริเวณที่”หมุดคณะราษฎร”หายไปอยู่ไม่ห่างจาก “ตำรวจ”และ “ทหาร”มากนัก

เพราะไม่ห่างจาก “กองบัญชาการตำรวจนครบาล”
แต่ไม่ปรากฏ “ท่าที” หรือ “ความสนใจ”อันมาจาก “ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล”
ทั้ง”กองบัญชาการ”ล้วนอยู่ใน”ความเงียบ”
ขณะเดียวกัน ก็ไม่ปรากฏ”ท่าที”หรือ”ความสนใจ”อย่างใดอย่างหนึ่งมาจาก”ทหาร”
ไม่ว่าจะจาก”สนามเสือป่า” ไม่ว่าจะจาก”กองพลที่ 1″
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใน”กองบัญชาการกองทัพภาค 1″สวนมิสกวัน
ทุกนายตรึงอยู่ใน “ที่ตั้ง” ไม่มีความรู้สึกใดๆ

ถามว่า”หมุดคณะราษฎร”ถือว่าเป็น “สมบัติของชาติ”ตามกฎหมายหรือไม่
ตอบได้เลยว่า “เป็น”
ที่เป็นเพราะการเกิดขึ้นของ”หมุดคณะราษฎร”เมื่อปี 2479 นั้นเป็นไปตามคำบัญชาของ “นายกรัฐมนตรี”
พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน)
สั่งการให้ “กระทรวงมหาดไทย” เป็นเจ้าของเรื่องและดำเนินการจัดทำและวางหมุดจนสำเร็จเรียบร้อย
ทุกอย่างมาจาก”งบประมาณ”ของแผ่นดิน
พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา นอกจากเป็น”นายกรัฐมนตรี”แล้วยังดำรงตำแหน่งเป็น”ผู้บัญชาการทหารบก”อีกด้วย
“หมุดคณะราษฎร”จึงถือเป็น”สมบัติแผ่นดิน”

เมื่อเป็น”สมบัติแผ่นดิน”สมควรที่ “ตำรวจ”และ”ทหาร”จักต้องปกป้อง พิทักษ์หรือไม่
คำว่า “กบิล”ของ”บ้านเมือง”
คำว่า “กฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์” หรือคำว่า”กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย”
ล้วนได้รับการเน้นย้ำอย่างหนักแน่น จริงจัง
ไม่ว่าจะมาจาก “ตำรวจ” ไม่ว่าจะมาจาก”ทหาร” ไม่ว่าจะมาจาก ข้าราชการ”พลเรือน”
แล้วเหตุใด”ข้าราชการ”จึงล้วนแต่”บ่ฮู้ บ่หัน”
ไม่ว่า พลเรือน ไม่ว่า ตำรวจ ไม่ว่า ทหาร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน