ธงไตรรงค์ธำรงไทย!

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

ธงไตรรงค์ – หัวใจรักชาติของคนไทยจะพองโตด้วยความภาคภูมิในเอกราชไทยทุกครั้งที่เห็นผืนธงไตรรงค์โบกสะบัดบนยอดเสาพร้อมกับเสียงเพลงชาติไทยที่ดังกระหึ่ม

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไม่ได้มีแค่เพียงความหมายเชิงสัญลักษณ์ความเป็นไทย แต่ยังแฝงไปด้วยความเสียสละของบรรพบุรุษไทยในการดำรงเอกราชของชาติมาหลายร้อยปี เล่าผ่านนิทรรศการธงไตรรงค์ ธำรงไทยซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และวชิราวุธวิทยาลัยจัดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ อาคารนวมภูมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย โดยมี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน

ธงไตรรงค์ธำรงไทย

ดร.วิษณุเล่าเรื่องราว

ธงไตรรงค์ธำรงไทย

ดร.วิษณุ บอกเล่าว่าพัฒนาการของธงไทยแบ่งเป็น 4 ยุคด้วยกัน เริ่มจากยุคที่ 1 ในเวลานั้นสยามยังไม่มีอะไรที่แสดงสัญลักษณ์ความเป็นไทย เวลาออกรบกับพม่าต้องอาศัยสังเกตจากการแต่งตัว จวบจนเข้าสู่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เริ่มมีการค้าขายกับชาติตะวันตก วันหนึ่งเมื่อเรือรบของฝรั่งเศสแล่นเข้ามาและชักธงชาติพร้อมยิงสลุตเป็นการทักทาย

ฝั่งไทยเองก็ยิงสลุตตอบแต่ไม่มีธงจะชักขึ้นเสา จึงไปคว้าธงฮอลันดาซึ่งในเวลานั้นเป็นคู่สงครามของฝรั่งเศสชักขึ้นสู่ยอดเสา ฝ่ายฝรั่งเศสไม่พอใจและขอให้ฝั่งไทยนำธงลง มิเช่นนั้นจะไม่คบค้าด้วย ฝ่ายไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการนำผ้าแดงมาใช้แทนธงเพื่อนำขึ้นสู่เสาแทน จึงกลายเป็นที่มาของหลักฐานในบันทึกฝรั่งเศสที่ระบุว่ากรุงศรีอยุธยาใช้ธงสีแดงเป็นธงประจำชาติ

ธงไตรรงค์ธำรงไทย ธงไตรรงค์ธำรงไทย

ยุคที่ 2 เข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำริว่า ธงแดงอาจไม่สง่างามพอเป็นสัญลักษณ์ของชาติ จึงเพิ่มจักรซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์เข้ามาเพื่อสื่อถึงความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ และยังพ้องกับราชทินนามเดิมคือเจ้าพระยาจักรีอันเป็นที่มาของนามราชวงศ์จักรีด้วย จึงกลายเป็นที่มาของธงพื้นแดงจักรขาว

มาสู่ยุคที่ 3 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งมีช้างเผือกสำคัญมาสู่พระบรมโพธิสมภารหลายช้าง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราภาพช้างเผือกเพิ่มเข้าไปในกงจักร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้นำวงจักรออกเหลือแต่เพียงช้างเผือกบนผ้าแดง รูปแบบธงนี้ใช้ต่อเนื่องในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ซึ่งสยามมีการทำสนธิสัญญาสำคัญกับชาติตะวันตก

ธงไตรรงค์ธำรงไทย

จวบจนเข้าสู่ยุคที่ 4 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้ใช้ธงริ้วแดงขาว กระทั่งต่อมาโปรดให้เติมสีน้ำเงินเข้าไปในธงเพิ่ม เพราะมองว่าที่เป็นอยู่เดิมไม่สง่างามเพียงพอ และต้องการให้ธงเป็นสามสีตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับกรุงสยามโดยมากเวลานั้น จึงถือเป็นจุดกำเนิดของธงไตรรงค์ซึ่งมีความหมายว่า 3 สี

กระทั่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติธงในวันที่ 28 กันยายน .. 2460 และได้มีโอกาสเฉิดฉายในสายตาชาวโลกเป็นครั้งแรกเมื่อครั้งที่ทหารไทยร่วมเดินขบวนฉลองชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ฝรั่งเศส

ด้วยประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของธงไตรรงค์ที่มีอายุยืนนานกว่า 100 ปี ควรค่าแก่การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานธงไตรรงค์เป็นสัญลักษณ์ สะท้อนถึงความเป็นชาติที่ผู้ใดจะดูหมิ่นหรือนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมไม่ได้ ในปี 2560

ซึ่งเป็นปีที่ธงไตรรงค์มีอายุครบ 100 ปี คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันพระราชทานธงชาติไทยเป็นต้นมาดร.วิษณุกล่าวทิ้งท้ายก่อนเดินชมนิทรรศการซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิดธงไทยในเวลาโลก

ความพิเศษของนิทรรศการในปีนี้คือการจำลองบรรยากาศให้เข้ากับยุคสมัย โดยมียุวมัคคุเทศก์จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้เข้าชมรับฟัง

ธงไตรรงค์ธำรงไทย

พรพล ระวิโรจน์

พรพล ระวิโรจน์ ชั้น .6 เผยว่าหลังจากได้มาทำงานตรงนี้ ความรู้สึกเวลายืนตรงเคารพธงชาติหรือร้องเพลงชาติไม่เหมือนเดิม จากที่รู้สึกเฉยๆ กลายเป็นทำให้นึกถึงประวัติศาสตร์ของผืนธงไตรรงค์ของไทยที่มีเรื่องราวของบรรพบุรุษไทยมากมายให้ชวนภาคภูมิใจ

ธงไตรรงค์ธำรงไทย

พีระวิชญ์ ธีระเดชปิติรัชต์

ขณะที่ พีระวิชญ์ ธีระเดชปิติรัชต์ ชั้น .2 เผยว่าเข้ามาร่วมกิจกรรมเพราะรู้สึกว่ายังมีอีกหลายเรื่องราวเกี่ยวกับธงชาติไทยให้ศึกษา และหลายคนอาจยังไม่รู้หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน จึงอยากมาทำหน้าที่ตรงนี้เพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้ตัวเองและส่งต่อความรู้ให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมนิทรรศการ

ธงไตรรงค์ธำรงไทย

เดชพันธุ์ สินพนมรัตน์

ด้าน เดชพันธุ์ สินพนมรัตน์ ชั้น .3 กล่าวว่านอกจากเรื่องธงชาติไทย ผมสนใจเรื่องธงสำคัญต่างๆ เลยมาศึกษาและแบ่งปันความรู้ให้ผู้ที่มาชมนิทรรศการ ได้หาความรู้เพิ่มเติม ฝึกความจำและเทคนิคการบอกเล่าเรื่องราวให้คนอื่นเข้าใจ

ธงไตรรงค์ธำรงไทย

ศุภกร อุบลจิตต์

ปิดท้ายที่ ศุภกร อุบลจิตต์ ชั้น .4 มองว่านอกจากจะได้ศึกษาเรื่องราวประวัติธงชาติไทยอย่างเจาะลึก เรียนรู้วิวัฒนาการของธงที่บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทยอันเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์สำคัญของโลกไว้มากมาย การทำกิจกรรมนี้ยังได้ฝึกฝนตัวเองให้กล้าคิด กล้าแสดงออก รู้จักการทำงานเป็นทีม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน