FootNote : พัฒนาการ เคลื่อนไหว การเมือง จาก FLASH MOB ถึงไล่ลุง

พลันที่สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร อนุญาตให้จัดกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” ในพื้นที่ “สวนรถไฟ” ได้ วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ก็กลายเป็นอีก หมุดหมาย 1 ในทางการเมือง
เหมือนกับคำเชิญชวนให้ไปร่วมกันแสดงความรู้สึกที่บริเวณลาน สกายวอล์ก ปทุมวัน เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม
กระทั่งกลายเป็น FLASH MOB สะท้านเมือง
ไม่ว่าในที่สุดแล้วปริมาณคนเข้าร่วม FLASH MOB จะเป็นแค่ 800 หรือว่ามากกว่า 3,000 คน แต่ที่ทุกฝ่ายมิอาจปฏิเสธได้ก็คือ เป็นจำนวนที่มากที่สุดหลังรัฐประหารเมื่อปี 2557
เช่นเดียวกับ กิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” ในวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคมจะมีคนเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด
ยังไม่มีใครกล้า “ฟันธง” ลงไปอย่างแน่ชัด

เหตุที่กิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” ยังไม่มีกล้าทำนายเพราะมีบทเรียนจากความ ผิดพลาดล้มเหลวมาจากการคาดสถานการณ์ FLASH MOB มาแล้วอย่างชนิดหน้าแหกแตกเป็นริ้ว
1 เพราะประเมินว่าไม่มีใครเห็นชอบด้วยกับคำเชิญชวนอันเลื่อน ลอยทางโซเชียล มีเดีย
เพราะว่าที่เชิญชวนก่อนหน้านั้นอย่างเก่งได้เพียง “หลักร้อย”
ขณะเดียวกัน 1 เพราะประเมินว่า “คนรุ่นใหม่” ส่วนใหญ่เป็นนักเลงคีย์บอร์ด แสดงความกล้าโฉ่งฉ่างผ่านสื่อออนไลน์ แต่ไม่ยอมลงเข้าร่วมอย่างเป็นจริง
กล่าวสำหรับกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” แม้มีผู้แสดงความจำนงลงทะเบียนรอบแรกสูงถึง 8,000 และรอบหลังเพิ่มมาอีก 2,000 รวมแล้วเท่ากับ 10,000
แต่ก็มีน้อยคนที่จะเชื่อว่ามีคนร่วมวิ่งแตะหลัก 10,000 จริง

จากปรากฎการณ์ FLASH MOB โยงมายังกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” สะท้อนให้เห็นพัฒนาการการเคลื่อนไหวอันเป็นกิจกรรมที่เหลื่อมซ้อนกับการเมือง
อย่างแรกนัดหมายกันผ่าน “โซเชียล มีเดีย” ในลักษณะบอกต่อไม่ว่าที่แยกปทุมวัน ไม่ว่าที่เชียงใหม่
อย่างหลังมีคณะกรรมการจัดเปิดเผยตัวอย่างเด่นชัด
แต่ยืนยันว่าเป็นกิจกรรม “วิ่ง” เพื่อสุขภาพอย่างที่นิยมกันกว้างขวางเพียงแต่เติมเป้าหมาย”ไล่ลุง”เข้าไปเท่านั้น
เป็น “ลุง” ชื่ออะไร แม้ไม่ระบุก็เป็น “คนที่เขารู้ๆกันอยู่”

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน