คนหรือสัตว์กันแน่

คอลัมน์ เพื่อนตัวเล็ก

คนหรือสัตว์กันแน่ – เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ยังไม่มีการยืนยันชี้ชัดถึงต้นตอของเชื้อ “ค้างคาว” เลยตกเป็นจำเลยสังคม ส่วนหนึ่งเพราะค้างคาวมีประวัติเป็นพาหะนำโรคร้ายหลายชนิด

คนหรือสัตว์กันแน่

เริ่มจาก “ไวรัสเฮนดรา” เดิมทีพบการติดเชื้อจากม้า แต่ในปี 2543 นักวิจัยพบการติดเชื้อไวรัสเฮนดราจากค้างคาวแม่ไก่ หรือค้างคาวผลไม้ “โรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง” (SARS-CoV)

มีการพบเชื้อไวรัสซาร์สในสัตว์อย่างอีเห็นเครือ และสุนัขแร็กคูน สันนิษฐานว่าเกิดจากการจำหน่ายเนื้อสัตว์ป่าในจีน ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อน และแพร่เชื้อสู่มนุษย์ รวมถึงต่อมาพบการติดเชื้อในค้างคาวมงกุฎ ซ้ำร้ายยังพบในลิงชิมแปนซี ไก่ สุนัข แมว หมู หนู และนกด้วย

อีกโรคคือ “เชื้อไวรัสนิปาห์” เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน เกิดจากการสัมผัสมูลสัตว์ และสารคัดหลั่งของพาหะนำโรค จากค้างคาวผลไม้ ติดต่อไปยังหมู ม้า แมว แพะ แกะ และแพร่เชื้อ สู่คน ซึ่งสามารถระบาดจากคนสู่คนได้

คนหรือสัตว์กันแน่

“โรคพิษสุนัขบ้า” ในจีนัสไลซ่าไวรัส มีอยู่ 2 ชนิดที่มาจากค้างคาว คือ “ลากอสแบตไวรัส” แยกเชื้อได้จากค้างคาวในไนจีเรีย และ “ออสเตรเลียนแบตไลซ่าไวรัส” แยกได้จากค้างคาวในออสเตรเลีย

“โรคติดเชื้อไวรัส อีโบลา” ค้นพบได้ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด รวมถึงค้างคาวผลไม้ที่พบการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ

ที่สำคัญคือ มีหลักฐานบ่งชี้บ่งว่า “โรคเมอร์ส” ที่เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัส มีรหัสพันธุกรรมกลุ่มเดียวกับไวรัสที่พบในค้างคาวกินแมลงในแอฟริกาใต้

คนหรือสัตว์กันแน่

แม้ค้างคาวจะถูกตราหน้าว่าเป็นสัตว์พาหะโรคเยอะ แต่หากมนุษย์รู้จัก “พอ” ไม่กินสัตว์ป่าสัตว์แปลก เราคงไม่ต้องมากังวล ปิดเมือง-ปิดประเทศเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน