กรณีการเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่านอีก 4-5 ปีหลังเลือกตั้ง

มาจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
และได้รับการอธิบายตามมาอย่างมากด้วยสีสันจาก นายถาวร เสนเนียม
กำลังจะกลายเป็นปัญหาของ “พรรคประชาธิปัตย์”
เหมือนพรรคประชาธิปัตย์ในยุค พ.อ.ถนัด คอมันตร์ ในยุค นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค
ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521
ที่พรรคการเมืองจำเป็นต้องให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ที่พรรคการเมืองจำเป็นต้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่าน”การเลือกตั้ง”

จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 มายังรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 สภาพทางการเมืองในลักษณะเดียวกันได้ปรากฏขึ้นอีก
สร้างความพะอืดพะอมอย่างยิ่ง
ทั้งๆที่เวลาจาก พ.ศ.2520 มายัง พ.ศ.2560 เวลาผ่านมาแล้ว 40 ปี
ไทยแลนด์ก้าวจาก 2.0 มายังไทยแลนด์ 4.0
แต่กลไกแห่ง “รัฐธรรมนูญ” ก็ยังวนกลับไปยังที่เคยทำมาแล้วเมื่อปี 2521
ผ่านยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ผ่านยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กระทั่งเข้าสู่ยุค พล.อ.ชาติ ชาย ชุณหะวัณ และยุค พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
40 ปีเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ความเชื่อของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ นายถาวร เสนเนียม ยังอยู่ในยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ความเชื่อนี้มีอยู่ใน “พรรคประชาธิปัตย์”หรือไม่
การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ได้เสนอคำถามอันแหลมคมนี้เข้าไปยังภายในพรรคประชาธิปัตย์
ยังไม่มีคำตอบจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เหมือนกับอาศัย”ความเงียบ”เป็นเครื่อง”พราง”ความคิด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน