FootNote:จังหวะ และย่างก้าว CARE ปลุกวิญญาณ “ไทยรักไทย”

การปรากฏขึ้นของกลุ่ม CARE ทางการเมือง สอดรับกับสภาพ การณ์ทางการเมืองที่กำลังเคลื่อนไหวและส่อสะท้อนการเปลี่ยน แปลงด้วยอัตราเร่งเร้าอันรุนแรง

เป็นการเมืองหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19

เป็นการเมืองที่มีความขัดแย้งซึ่งรุนแรงและแหลมคมยิ่ง

ไม่เพียงภาพความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งขยายให้เห็นอย่างเด่นชัดเท่านั้น

หากยังเป็นภาพความขัดแย้ง 1 ภายในพรรคพลังประชารัฐ อันเป็นพรรคการเมืองของคสช. และ 1 ระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคร่วมรัฐบาล

การเมืองเช่นนี้เป็นการเมืองซึ่งมีความไม่แน่นอน เป็นการเมืองที่พร้อมจะสร้างการเปลี่ยนแปลง

การปรากฏขึ้นของกลุ่ม CARE จึงสอดรับกับสถานการณ์

หากมองไปยังองค์ประกอบการก่อรูปขึ้นของกลุ่ม CARE ก็จะสัมผัสได้ในการดำรงอยู่ วิถีที่จะดำเนินไป อย่างแจ่มชัดว่ามีเป้า หมายใดในทางการเมือง

พวกเขาประกาศตัวว่าเป็นนักการเมืองที่เคยมีบทบาทอยู่ใน พรรคไทยรักไทย ต้องการสานต่อบทบาทของพรรคไทยรักไทย

ไม่ว่าจะมอง นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ไม่ว่าจะมอง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ไม่ว่าจะมอง นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี ไม่ ว่าจะมอง นายภูมิธรรม เวชยชัย

ล้วนเห็นรากที่มา ล้วนประจักษ์ในทิศทางทางการเมืองอย่าง เด่นชัด

เป็นความเด่นชัดเหมือนที่เคยสัมผัสได้จากบทบาทอันมีอยู่ในพรรคไทยรักษาชาติ เหมือนที่เคยสัมผัสได้จากบทบาทอันมีอยู่ในพรรคเพื่อชาติ หรือแม้กระทั่งพรรคประชาชาติ

นั่นก็คือเป็นพรรคอันมีรากฐานมาจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย

การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ก็ดำเนินไปเช่นเดียวกับการก่อรูปของกลุ่ม CARE ในเดือนมิถุนายน และอาจจะประกาศตัวในเดือนมิถุนายน 2563

องค์ประกอบมิได้อยู่ที่เป็นการฟื้นคืนชีพทางการเมืองของนัก การเมืองผู้มีประสบการณ์และความจัดเจนทางการเมืองเท่านั้น

หากแต่ยังจะดึงเอา”คนรุ่นใหม่”เข้ามาเสริมเติม

ทั้งมิได้เป็นการเสริมเติมในลักษณะอันเป็นเพียงใบเฟิร์นประดับแจกัน หากแต่ยังเพิ่มความเข้มข้นและคึกคักมากกว่านั้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน