FootNote : จาก กรณี #ตามหาความจริง ขยายมาสู่ #SAVEวันเฉลิม

การขับเคลื่อนเพื่อ #SAVEวันเฉลิม ไม่ว่าจะที่ทำเนียบรัฐบาล ไม่ว่าจะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไม่ว่าจะที่หน้ากองทัพบก ไม่ว่า จะที่หน้ากระทรวงกลาโหม
เป็นการขับเคลื่อนในเชิง “สัญลักษณ์” เป็นการขับเคลื่อนในเชิง “ความคิด”
บนพื้นฐานแห่งความเรียกร้องต้องการ # ตามหาความจริง
เด่นชัดอย่างยิ่งว่า นี่คือพัฒนาการและความต่อเนื่องของการเคลื่อนไหวในแบบ FLASH MOB ซึ่งจุดประกายมาตั้งแต่ เมื่อเดือนธันวาคม 2562 และคึกคักในเดือนมกราคม 2563
และต้องชะงักงันไปภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 และภายใต้การประกาศและบังคับใช้พรก.บริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเดือนมีนาคม
จากปลายเดือนมีนาคมจนตลอดเดือนเมษายนการเคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะนิ่งสงบเพราะการปิดมหาวิทยาลัยเพราะ การประกาศและบังคับใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน
แต่เมื่อย่างเข้าเดือนพฤษภาคม ร่องรอยแห่งการเคลื่อนไหวก็ได้ปรากฏเพราะไม่เพียงเป็น 10 ปีของเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภา คม 2553 หากแต่ยังเป็น 6 ปีแห่งรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557
เริ่มจาก #ตามหาความจริง และประสานเข้ากับ #SAVEวันเฉลิม ในเดือนมิถุนายน

ไม่ว่าการยิงแสงเลเซอร์อันเป็นการนำร่องในกรณี #ตามหาความ จริง ไม่ว่าการผูกโบและริบบิ้นขาวในกรณี #SAVEวันเฉลิม เริ่ม จากจุดเล็กๆโดยคนไม่กี่คนอาศัยพื้นที่ด้านโซเชียลมีเดีย
แต่ด้วยเวลาอันสั้น รวดเร็ว ก็สามารถสร้างปรากฏการณ์มีคนเข้าร่วมเป็นล้านและหลายล้าน
#ตามหาความจริง ปลุกสำนึกและเกิดกระบวนการขุดค้นไปยังสภาพความเป็นจริงอันเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 โดยคนรุ่นใหม่
#SAVEวันเฉลิม ทำให้นามของ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์ สิทธิ์ กลายเป็น ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์
กระทบเข้ากับ 2 หูแม้กระทั่งองค์การ “สหประชาชาติ”

แม้ว่าทั้ง 2 การเคลื่อนไหวจะไม่ได้รับความสนใจจากสังคมในตอนต้น แต่ด้วยเวลาอันรวดเร็ว ทั้ง 2 ปรากฏการณ์ก็ดำรงอยู่ในลักษณะอันเป็น “ไวราล”
ติดอันดับเทรนด์ของทวิตเตอร์ สะท้อนฐานมวลชนรองรับไม่ต่ำกว่าล้าน
กลายเป็นรูปแบบ “ใหม่” ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน