คําอธิบายของนักวิชาการว่าด้วยความ แตกต่างระหว่างงานวิจัยและการทำโพลทำให้เกิดความกระจ่างขึ้นมาก โดยเฉพาะงานวิจัยประเด็นทางการเมืองที่เกิดข้อโต้แย้งและไม่พอใจขึ้นในกรณีของสถาบันพระปกเกล้า

เป็นโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความพึงพอใจและบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2545 ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยที่ซับซ้อนเพื่อให้ได้ตัวแทนที่แท้จริงของประชาชน

เฉพาะในปี 2560 นักวิจัยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 33,420 รายในทุกจังหวัดและลงไปเก็บข้อมูลยังครัวเรือน มีตัวบุคคลให้สัมภาษณ์อย่างชัดเจน

ในขณะที่การทำโพลเป็นการสุ่มตัวอย่าง ที่ไม่ละเอียดนัก และมีคำถามเพียงไม่กี่คำถาม

สําหรับลักษณะของงานวิจัยนี้ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้ายืนยันว่าไม่ได้มีการเปรียบเทียบความเชื่อมั่นต่อผู้นำประเทศแต่ละสมัย แต่มุ่งเน้นไปที่ปฏิกิริยาของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุด อย่างน้อย 4 ชุด

เป็นการทำหน้าที่ของสถาบันทางวิชาการ เพื่อสะท้อนว่าประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร นโยบายใดที่ประชาชนพึงพอใจ และนโยบายใดที่ยังไม่พึงพอใจ ด้วยหวังว่าจะนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข เพื่อช่วยสร้างสรรค์ต่อบ้านเมือง

ในขณะที่ผู้จัดทำเห็นว่าการพัฒนาประชาธิปไตยจะใช้แค่กลไกทางกฎหมาย อย่างเดียวไม่ได้ ควรต้องมีปัจจัยอื่น รวมถึงงานวิจัยด้วย

แม้ผู้จัดทำเห็นว่าผลสำรวจดังกล่าวที่ประชาชน มีความเห็นต่อรัฐบาลชุดต่างๆ นั้นในทางปฏิบัติแล้วไม่สามารถนำไปเทียบกันได้

แต่การเปรียบเทียบผลงานของรัฐบาลของประชาชนนั้นเป็นเรื่องปกติของสังคม โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจปากท้องที่ใกล้ตัวมากที่สุดและเปรียบเทียบได้ง่ายที่สุด

ส่วนเรื่องประชาธิปไตยนั้นคงไม่อาจเปรียบเทียบได้จริงๆ เนื่องจากรัฐบาลที่มาการเลือกตั้งต้องทำงานตามนโยบายที่หาเสียงและให้สัญญาไว้ ส่วนรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสามารถเลือกทำในสิ่งที่คิดว่าดีและถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องได้รับฉันทามติจากประชาชน

หากประเด็นนี้พอจะเป็นประโยชน์ ต่อพัฒนาการทางการเมืองได้ก็หวังว่า จะมีนักวิจัยศึกษาด้วยเช่นกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน