สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรจากเกษตรกรทั่วประเทศจำนวน 10,000 ครัวเรือน ระหว่างปีการผลิต 2557/58 และ 2558/59 ที่รัฐบาลคสช.บริหารประเทศ

พบว่ามีรายได้เงินสดรวมจำนวน 2558/59 มี ทั้งสิ้น 300,565 บาท/ครัวเรือน แบ่งเป็นรายได้จากภาคเกษตร 157,373 บาท/ครัวเรือน รายได้นอกภาคเกษตร 143,192 บาท/ครัวเรือน ส่วนรายจ่ายเงินสดรวม 2558/59 มีทั้งสิ้น 248,170 บาท/ครัวเรือน แบ่งเป็นรายจ่ายในภาคเกษตร 100,281 บาท/ครัวเรือน และนอกภาคเกษตร 147,889 บาท/ครัวเรือน

รายได้เงินสดสุทธิครัวเรือน จะเหลือเพียง 52,395 บาท/ครัวเรือน ติดลบ 17.4% หากคิดเฉพาะรายได้เงินสดสุทธิเกษตรมีทั้งสิ้น 57,092 ครัวเรือน

เพิ่มขึ้น 0.04% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ขณะที่หนี้สินมีทั้งสิ้นจำนวน 122,695 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.55% แบ่งเป็นหนี้ในภาคเกษตรทั้งสิ้น 64,452 บาท/ครัวเรือน ติดลบ 0.0018% และนอกภาคเกษตรทั้งสิ้น 58,243 บาท/ครัวเรือน ติดลบ 10.34%

สำหรับรายได้เงินสดสุทธิครัวเรือนในปี 2558/59 ที่ติดลบสูงถึง 17.4% นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรอ้างว่ามาจากรายจ่ายนอกการเกษตรถึง 58-60% โดยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่าเทอมบุตร ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน

รวมถึงการที่เกษตรกรฟุ่มเฟือยตามรสนิยมที่ สูงขึ้น ซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ สมาร์ตโฟนราคาแพง ใช้ ส่วนรายจ่ายในภาคเกษตรสัดส่วน 40-42% มาจากค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่าที่ดิน ค่าจ้างบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร

ทำให้หนี้นอกภาคเกษตรเพิ่มสูงขึ้น

จริงอยู่การสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนภาคต่างๆ เพื่อนำมาเปรียบรายรับ รายจ่ายของประชาชน และนำไปวางแผนแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ย่อมเป็นเรื่องน่าสนับสนุน

แต่การระบุว่าเกษตรกรหนี้สินภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น เพราะรสนิยมที่สูงขึ้นนั้น จากการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยราคาแพงนั้น ถือว่าเป็นทัศนะด้านลบที่ยังมีอยู่จากระบบราชการของประเทศไทย

ที่ต้องตั้งคำถามก็คือทำไมในสองปีการผลิตที่สำรวจพบนี้ เกษตรกรจึงมีรายได้ครัวเรือนที่ลดลง แถมหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยที่รัฐบาลไม่สามารถบริหารจัดการได้หรือไม่

มากกว่าจะด่วนสรุปว่าเกษตรกรฟุ่มเฟือยรสนิยมสูง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน