การปลดระวาง”เรือเหาะ”ได้กลายเป็นประเด็นอัน “ร้อนแรง”ยิ่งในทางสังคม

เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็น”ความรับผิดชอบ”ของใคร

หากประมวลความเป็นมาของการอนุมัติโครงการ”เรือเหาะ”ในเดือนมีนาคม 2552 กระทั่ง ประกาศปลดระวางในเดือนกันยายน 2560

ยิ่งทำให้เวลา 8 ปีนี้ทรงความหมาย

ทรงความหมายต่อการอนุมัติอันมาจาก ผบ.ทบ. อันมาจาก รัฐมนตรีกลาโหม อันมาจากนายกรัฐมนตรี

เป็นรัฐบาลซึ่ง”พรรคประชาธิปัตย์”เป็นแกนนำ

เป็นรัฐบาลซึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับ พรรคภูมิใจไทย หลังการยุบพรรคพลังประชาชนในเดือนพฤศจิกายน 2551

รัฐบาลภายหลังการยุบพรรคพลังประชาชนอันส่งผลให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

และเกิดการแตก แยกตัวภายในพรรคพลังประชาชน

นินทากันอย่าอื้ออึงว่าเป็นรัฐบาลอันจัดตั้งขึ้นในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์

อันรับรู้ผ่านสื่อว่าเป็น “รัฐบาล” จาก”ค่ายทหาร”

จึงไม่แปลกที่เพียง 3 เดือนให้หลังโครงการ”เรือเหาะ”ก็ได้รับการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมครม.

ผ่านการอนุมัติในเดือนมีนาคม 2552

ปัญหาอันเกี่ยวกับ “เรือเหาะ”คงไม่เกิดขึ้นหาก “เรือ”ที่ว่านี้สามารถ “เหาะ” และสามารถ “ตรวจการณ์”ได้

แต่เด่นชัดว่าไม่เคยบินสูงได้ตาม”เป้าหมาย”

คำประกาศปลดระวาง “เรือเหาะ” จากกองทัพบกจึงชอบด้วยเหตุผลอย่างที่สุด

แต่คำถามอยู่ทีว่า “ใคร”จะ “รับผิดชอบ”

เรื่องนี้ไม่สามารถโทษรัฐบาลก่อนหน้าได้ ไม่ว่าจะพรรคไทยรักไทย ไม่ว่าจะพรรคพลังประชาชน เพราะผ่านความเห็นชอบของครม.เมื่อเดือนมีนาคม 2552

นายกรัฐมนตรีเป็นใคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นใคร ผู้บัญชาการทหารบกเป็นใคร

พรรคประชาธิปัตย์รู้ดีที่สุด

คำถามจึงอยู่ที่ว่า”เรือเหาะ”จะจบลงที่ใคร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน