กรณีของ ร็อดริโก “โรดี้” ดูเตร์แต ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ กำลังจะเป็น “กรณีศึกษา”ในทางการเมือง

ไม่เพียงระดับ”ฟิลิปปินส์”
หากทำท่าว่าจะยกระดับไปสู่ระดับ”นานาชาติ”ระดับ”ระหว่างประเทศ”
แสงแห่งสปอตไลต์ฉายจับยิ่งกว่า โดนัลด์ ทรัมพ์
แสงแห่งสปอตไลต์ ไม่ว่า”ภายใน”หรือ”ภายนอก”มักจะทอดจับไปยัง 2 ประเด็น
1 ประเด็นการใช้ “วาจา”
เป็นวาจาในเชิงภาษา”ปาก” หรือภาษา”พูด” ซึ่งเจือ”คำสบถ”ประสานกับ “คำด่า”
แน่นอน เมื่อเป็นคำด่าย่อม”หยาบคาย”
ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งสัมพันธ์กับกระบวนท่าของการใช้”วาจา” อย่างแนบแน่น
คือ “นโยบาย”
ทั้งๆที่ “นโยบาย” คือ แก่นแกน คือ ด้านหลัก แต่ผู้คนมักจะไปติดอยู่กับ “วาจา”
กระทั่งมองข้าม “นโยบาย”

การเอ่ยคำประณามหยามเหยียดอีกฝ่ายให้กลายเป็น “GAREE” หรือเป็น “ลูก GAREE” ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น “สันตปาปา”
ไม่ว่าจะเป็น “ประธานาธิบดี” ไม่ว่าจะเป็น “เลขาธิการ” ในประเทศหรือองค์กรระหว่างชาติ
ล้วน “โดน” โรดี้จัดการเสร็จสรรพ
บางครั้งพูดไปแล้วก็มีคำ”ขอโทษ”ตามมา หลายครั้งพูดไปแล้วก็ลอยไปตามสายลม
ในแบบ”โบลอิ้ง อิน เดอะ วินด์”
กระนั้น ความเป็นจริงที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ “นโยบาย”ต่างหากที่เป็นตัวจุดชนวนแห่งความขัดแย้ง
เป็นนโยบายอันเกี่ยวกับ “ยาเสพติด”

แม้ ณ วันนี้ ทั่วโลกจะรับรู้ว่ากระแส”ต้าน”ต่อ ร็อดริก ดุแตร์เต มาจากนโยบายในเรื่อง “ยาเสพติด”
โดยเฉพาะกระบวนการ”ฆ่า”
กระนั้น ก็จำเป็นต้องยอมรับว่า ด้วยนโยบาย”ยาเสพติด”แบบนี้เองที่ทำให้ ร็อดริก ดูแตร์เต ได้รับเลือก
เป็น”ผลงาน” ตั้งแต่ระดับ”ท้องถิ่น”
และจากท้องถิ่นก็เหมือนกระดานหกให้ “โรดี้” ได้รับเลือกระดับประเทศให้เป็น “ประธานาธิบดี”
การต่อต้านจาก”สากล”ดำรงอยู่จริงในระดับ”โลก”
แต่ภายในประเทศ คะแนนนิยมของ”โรดี้”จากชาวฟิลิปปินส์กลับท่วมท้น ทำท่าว่าหากมีการเลือกตั้งอีกก็จะได้เป็น”ประธานาธิบดี”อีก
นโยบาย”ยาเสพติด”ของ”โรดี้”จึงกลายเป็น”ประชานิยม”
ทั้งๆที่คนที่ตาย คนที่ถูกฆ่า อาจจะ”ไม่นิยม”ไปด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน