หากถือว่าการตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล

เป็นการ”แตก”จากภายใน

เพราะความไม่พอใจของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล มีมูลฐานมาจากการใช้ “มาตรา 44″ ในการโยกย้ายอธิบดีภายในกระทรวงแรงงาน

โดยที่ 1 การแต่งตั้งอธิบดีเป็นข้อเสนอของรัฐมนตรีและผ่าน

การอนุมัติเห็นชอบโดยมติครม.

โดยที่ 1 การใช้มาตรา 44 มิได้ผ่านการหารือกันก่อน

ปรากฏการณ์อันสะท้อนผ่านข้อเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 เป็นอีกกรณีหนึ่ง

เพียงแต่สะท้อนออกผ่าน”ประชาธิปัตย์”

บทบาทของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน อาจไม่สะเทือนใจเท่าใดนักหากเปรียบเทียบกับบทบาทของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

แม้จะมี”เป้าหมาย”เดียวกัน

นั่นก็คือ นำไปสู่”การรีเซต”ล้างพรรคการเมืองเก่าภายใต้ข้ออ้างเพื่อความเสมอภาค เท่าเทียมกัน

พรรคการเมืองเก่าย่อมมี”ประชาธิปัตย์”รวมอยู่ด้วย

ข้อเสนอของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จึงดำเนินไปในทิศทาง

เดียวกันกับข้อเสนอของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน โดยอัตโนมัติ

ทาง 1 จึงก่ออาการ “นะจังงัง”

นะจังงังจาก นายถาวร เสนเนียม นะจังงังจาก นายวิทยา แก้วภราดัย นะจังงังจาก นายสาธิต วงศ์หนองเคย

ทาง 1 จึงก่ออาการ”หุดหิด”โดยพร้อมเพรียงกัน

เหมือนกับเป้าหมายอันมาจาก”ข้อเสนอ”จะมุ่งไปยังระบอบทักษิณ คือ พรรคเพื่อไทย

แต่ที่เสียหายสุดๆ คือ พรรคประชาธิปัตย์

เราจึงสัมผัสได้ในความร้อนแรงจาก นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ

เท่ากับ “ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ”

น่าสนใจก็ตรงที่ทั้ง นายชวน หลีกภัย และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังสงบนิ่งอยู่ในที่ตั้งแม้จะรู้อยู่เต็มอกว่าปฏิบัติการเที่ยวล่าสุดของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

เท่ากับเผา”ประชาธิปัตย์”ให้วอด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน