มีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับว่า ที่วุ่นๆจนต้องใช้มาตรา 44 กับพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 นั้น

เหตุปัจจัยอันแท้จริงงอกมาจากไหน

1 มาจากบทบัญญัติอันมีอยู่ภายในพรป.ว่าด้วยพรรคการ

เมือง พ.ศ.2560 อย่างเด่นชัด

1 มาจากคำสั่งคสช.ฉบับที่ 157/2557

แม้ว่าพรรคการเมืองหลักๆอย่าง พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา ได้เคยสอบถามและตั้งข้อสังเกตผ่าน

กกต.ไปแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจ

กระทั่ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ขยับ จึงเริ่มเห็นในจุดอ่อนและความบกพร่อง

ในที่สุด ก็ต้องใช้บริการผ่าน “มาตรา 44”

จุดอ่อนและความบกพร่องอย่างสำคัญอันชี้โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ล่าสุด

คือ ปัญหาเรื่อง “สมาชิกพรรค”

“ยกเว้นการบังคับใช้ระบบไพรมารีโหวตไว้ก่อน (เพราะ)แม้จะเป็นแนวทางที่ดี แต่สุดท้ายจะสร้างปัญหาทำให้การส่งผู้สมัคร ของพรรคต่างๆมีอุปสรรค”

นี่คือเสียงอันมาจาก นายไพบูลย์ นิติตะวัน

ถามว่าปัญหาของระบบไพรมารีโหวต เป็นปัญหาของพรรคอย่างพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา หรือพรรคภูมิใจไทยหรือไม่

อาจเคยทักท้วง แต่พรรคเหล่านี้ก็ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง

ตรงนี้อาจเป็นปัญหาของ “พรรคใหม่”

จากที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ นายไพบูลย์ นิติตะวัน โวยวายขึ้น

จึงเท่ากับสะท้อนให้เห็นปัญหาอย่างน้อย 2 จุด

จุด 1 คือ บทบัญญัติที่ดำรงอยู่ภายในพรป.ว่าด้วยพรรคการ เมือง พ.ศ.2560

จุด 1 คือ ความไม่สามารถของพรรคการเมืองบางพรรค

บังเอิญที่พรรคและกลุ่มการเมืองบางพรรค บางกลุ่มการเมือง ใกล้ชิดอย่างเป็นพิเศษกับผู้มีอำนาจทางการเมือง

ความคิดในการใช้ “มาตรา 44” จึงบังเกิด

ในที่สุดแล้ว “มาตรา 44” จะคลาย “ล็อก”ให้กับ “ใคร”

//////////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน