กรณีของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ได้กลายเป็น Case Study อันทรงคุณค่ายิ่ง

ไม่เพียงแต่ในทาง “การศึกษา” หากแต่ในทาง “การบริหาร”

ในทางการศึกษาอาจเน้นไปที่ “จริยธรรม” ในทางการบริหาร อาจเน้นไปที่วิธีวิทยาใน “การจัดการ”

เหมือนกับบทสรุปผ่าน “คำขอโทษ”จะเป็น “ไม้เด็ด”

สร้างภาพให้สังคมเห็นความเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของครม.

ลบ “รอยหมาง” ให้เป็น “ความเข้าใจ”

กระนั้น คำถามที่ตามมาอย่างฉับพลันก็คือ สามารถสร้างภาพแห่งความสมานฉันท์ได้หรือไม่

สถานการณ์ต่อเนื่องยืนยันว่า “ไม่ได้”

 

ทุกอย่างกลับดำเนินไปตามบทสรุปผ่านสำนวนไทยแต่โบราณโดยพื้นฐานก็จาก 2 สำนวน

1 ต่อความยาว สาวความยืด

ยิ่งสังคมเห็นภาพ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ อยู่ในอาการทะร่อทะแร่มากเพียงใด อาการหยักหน้าอย่างเฉยเมยของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ยิ่งทรงความหมาย

1 ทุกอย่างดำเนินไปในแบบ “เตี้ยอุ้มค่อม”

เนื่องจากการออกตัวของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ที่กรุงลอนดอนยึดทั้งหลัก “นิติธรรม” และหลัก “จริยธรรม”อย่างสูงส่ง

แต่เมื่อมีการจับมือ “เกี้ยเซี๊ยะ”อย่างรวดเร็วในทำเนียบรัฐบาลที่เห็นๆว่าเป็น “ลำไม้ไผ่”ก็กลับกลายเป็น “บ้องกัญชา”

แทนที่สภาพจะได้หมดอย่างสดชื่น

ตรงกันข้าม “นาฬิกา”หรูในวงแขนกลับฉุดดึง “จริยธรรม”ของคุณหมอต้อง “อักเสบ”ขึ้นมา

กลายเป็นภาพรุ่งริ่ง ร่อแร่กันทั้งคู่

 

วิธีวิทยาอย่างที่เห็นผ่านกระบวนการ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐ ศิลป์ กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

จึงมิได้เป็นการแก้ไขหรือยุติปัญหา

ตรงกันข้าม กลับเป็นการเพิ่มปัญหาและสร้างประเด็นใหม่ขึ้นมาในทางการเมือง ส่งผลให้ทั้งคู่ต้องเหน็ดเหนื่อยเพิ่มขึ้นเป็นทวิทวีคูณ

ประสบ “วิกฤตศรัทธา”กันถ้วนทั่ว

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน