เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด – เทรนด์หนึ่งที่บรรดาค่ายสมาร์ตโฟนสมัยนี้กำลังนิยม คือ การนำเรือธงวางจำหน่ายคราวละหลายแบบ

ข้อแตกต่างสำคัญที่สุดเป็นเรื่องของขนาด วันพลัส ค่ายผู้พัฒนาสมาร์ตโฟนชื่อดังจากจีนเป็นอีกหนึ่งค่ายที่เกาะกระแสเรือธงพี่ใหญ่-น้องเล็ก

เว็บไซต์แอนดรอยด์อูธอรีตีนำประสบการณ์การใช้งาน วันพลัส 8 (OnePlus 8) เรือธงน้องเล็กของค่ายนี้มาเล่าสู่ กันฟัง

เริ่มจาก วันพลัส 8 เป็นเรือธงลดขนาดและสเป๊กลงมาจาก วันพลัส 8 โปร (OnePlus 8 Pro) ที่เป็นพี่ใหญ่ ส่งผลให้ราคาของวันพลัส 8 นั้นน่าเย้ายวนใจมากขึ้น แต่ยังมีสเป๊กและฟีเจอร์อยู่ในระดับที่แข่งขันกับค่ายอื่นในตลาดพรีเมียมได้

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

วันพลัส 8 และรุ่นโปร (ขวา)

 

การออกแบบภายนอกของเครื่องถือว่ามีความสวยงามและล้ำยุคตามแบบฉบับเรียบหรูทันสมัย

สีของเครื่องที่เป็นการไล่สีที่แตกต่างกันอย่างน่าดึงดูด ใช้การไล่เรียงสีถึง 8 ขั้นตอน ได้แก่ สีดำ Onyx Black สีเขียว Glacial Green และสีพิเศษที่เปล่งประกาย ชื่อว่า Interstellar Glow ซึ่งมีเฉพาะรุ่นท็อป

สี Interstellar Glow นั้นมีลักษณะใสเหมือนกระจกและจะเปลี่ยนสีตามมุมของแสงที่ตกกระทบบนตัวเครื่อง (คล้ายสี Aura Glow ของเครื่องซัมซุง กาแล็กซี โน้ต 10 ซีรีส์) แต่สีที่ได้ออกมานั้นจะออกไปอารมณ์พระอาทิตย์ตกดิน ถือเป็นความโดดเด่นประการแรกของ วันพลัส 8

อกเหนือไปจากสีที่โดดเด่นแล้ว วันพลัส 8 มีองค์ประกอบของความเป็นสมาร์ตโฟนเรือธงปีนี้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นขอบโค้ง 3D curved Corning Gorilla Glass 3 ทั้งหน้าและหลังเข้าหาขอบเครื่องอะลูมิเนียมมันวาว พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C ไม่มีช่องเสียบหูฟัง และจอภาพเกือบถึงขอบพร้อมหลุมกล้องเซลฟี่ที่มุมซ้ายบน (หันหน้าจอเข้าหาตัว)

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

จอเต็ม

 

 

ขนาดของเครื่อง

ขนาดของเครื่องวันพลัส 8 มีความกว้าง 72.9 ยาว 160.2 และหนา 8.0 มิลลิเมตร น้ำหนักรวมแบตเตอรี่อยู่ที่ 180 กรัมมีขนาดเล็กกว่าเครื่องพี่ใหญ่อย่าง วันพลัส 8 โปร กว้างน้อยกว่า 1.45 ยาวน้อยกว่า 5 และบางลง 0.5 ม.ม. รวมทั้งเบาลงด้วย คิดเป็นขนาดเล็กลงราวร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับพี่ใหญ่ที่หนัก 199 กรัม ตัวเครื่องที่ค่อนข้างลื่นนั้นทำให้ใส่ในกระเป๋ากางเกงได้ง่าย แต่ก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะไหลลงจากโต๊ะ โดยเฉพาะพื้นผิวที่มันวาวอย่างกระจก แนะนำให้ใส่เคสไว้เพื่อความปลอดภัยจะดีกว่า

การจัดเรียงกล้องหลังของวันพลัส 8 ยังเป็นการจัดเรียงแนวตั้งที่กึ่งกลางเครื่อง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวันพลัส มีทั้งหมด 3 เลนส์ แลดูเรียบง่ายกว่าเรือธงปีนี้หลายๆ ค่ายที่โมดูลกล้องหลังนั้นอลังการงานสร้างจนบางครั้งก็แลดูเยอะ นอกนั้นมีการออกแบบคล้ายของเดิม

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

สีเปลี่ยนตามมุมตกกระทบของแสง

 

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

สีสวยโดดเด่น

 

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

หลุมกล้องเซลฟี่

 

ได้แก่ ปุ่ม triple-action ที่มุมขวาบนสุด ถัดลงมาเป็นปุ่มเปิด-ปิดจอ อยู่ขอบขวา และปุ่มปรับระดับเสียงที่ขอบซ้ายของเครื่อง ส่วนช่องลำโพงถาดใส่ซิมการ์ด และ USB-C อยู่ที่ขอบล่างทั้งหมด การประกอบแน่นหนาผ่านมาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น IP68

ด้านหน้าจอแสดงผลของวันพลัส 8 นั้นมีคุณภาพยอดเยี่ยมเกือบเทียบเท่า วันพลัส 8 โปร ซึ่งได้รับคำชมเชยว่าเป็นหนึ่งในจอภาพที่ให้สีได้แม่นยำที่สุดในเวลานี้ผ่านเทคโนโลยี AMOLED ขนาด 6.55 นิ้ว ความถี่จอภาพ 90 เฮิร์ตซ (Hz) ความหนาแน่น 402 พิกเซลต่อตารางนิ้ว (ppi) บนอัตราส่วนจอภาพ 20:9 ความละเอียดจอสูงสุดแบบ FHD+ (2,400 x 1,080 พิกเซล) อัตราส่วนจอภาพต่อตัวเครื่องร้อยละ 88.7 สนับสนุน HDR10+ พร้อมเซ็นเซอร์ลายนิ้วมือในจอภาพ

แม้สเป๊กของจอภาพจะถือว่าต่ำกว่าเรือธงของค่ายอื่นๆ แต่จากการทดสอบพบว่า ยังแลดูน่าประทับใจไม่ว่าจะเป็นความคมชัด และสีที่เปล่งปลั่ง โดยเฉพาะความลื่นไหลของภาพบนจอจากความถี่สูง 90 Hz ซึ่งวันพลัสนั้นถือเป็นค่ายแรกๆ ที่นำเอาความถี่สูงมาใช้ในจอสมาร์ตโฟน

อย่างไรก็ดี วันพลัส 8 นั้นมีหลุมบนจอภาพสำหรับกล้องเซลฟี่ที่มุมซ้ายบนของเครื่อง แตกต่างจากรุ่นที่ผ่านๆ มาของทางค่ายซึ่งกล้องเซลฟี่นั้นจะโผล่ออกมาจากขอบเครื่องหรือเรียกว่า กล้องแบบระบบป๊อปอัพ ส่วนการทดสอบระบบตรวจลายนิ้วมือนั้นพบว่ามีความแม่นยำและตอบสนองฉับไวอย่างน่าประทับใจเหนือกว่ากูเกิ้ล พิกเซล 4 เอ็กซ์แอล แอลจี วี 60 และซัมซุง กาแล็กซี เอส 20 ซีรีส์ เสียอีกส่วนนี้ถือว่าน่าพอใจและเพียงพอต่อ การใช้งานแล้ว

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

ภาพ HDR

 

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

ภาพวาย

 

วันพลัส 8 ใช้ขุมพลังจากชิพประมวลผล(SoC) รุ่น Snapdragon 865 จาก ค่ายควัลคอมม์ สหรัฐอเมริกา เป็น SoC ระดับเรือธงบนสถาปัตยกรรมการผลิตขนาด 7 นาโนเมตร (nm) ภายในประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียูแบบ 8 หัว (Octa-core) แบ่งเป็น 3 คลัสเตอร์

ได้แก่ ความถี่สัญญาณนาฬิกา 2.84 กิกะเฮิร์ซ (GHz) จำนวน 1 คอร์ 2.42 GHz จำนวน 3 คอร์ และ 1.8 GHz จำนวน 4 คอร์ มีหน่วยประมวลผลกราฟฟิก หรือจีพียู รุ่น Adreno 650 หน่วยความจำแรม (RAM) 8 และ 12 กิกะไบต์ (GB) พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน (ROM) 128 และ 256 GB บนมาตรฐานอินเตอร์เฟซข้อมูลแบบ UFS 3.0 ไม่สนับสนุนการ์ด microSD ซึ่งน่าเสียดายอย่างยิ่ง

สเป๊กของวันพลัส 8 นั้นถือว่าเป็นระดับ เรือธงที่รองรับการใช้งานได้ทุกประเภท ผลการทดสอบผ่านแอพพลิเคชั่นเบนช์มาร์กหลายแอพ อาทิ 3DMark, Geekbench และ GFXBench พบว่ามีคะแนนอยู่ในระดับที่เหนือกว่าสมาร์ตโฟนทั่วโลกร้อยละ 99 ที่ใช้ Snapdragon 865

โดยเฉพาะแอพ Speed Test G ที่ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่าเรือธงอย่าง ซัมซุง กาแล็กซี เอส 20 อัลตร้าด้วย! ถือเป็นสมาร์ตโฟนน้องเล็กม้ามืดที่มีประสิทธิภาพระดับที่รุ่นพี่ใหญ่อย่างพวก โปร หรือพลัส หรือแม้กระทั่งอัลตร้ายังเหนื่อย

อีกหนึ่งจุดเด่นของ วันพลัส 8 เป็นแบตเตอรี่ขนาด 4,300 มิลลิแอมป์ชั่วโมง (mAh) ซึ่งลดลงมาจาก 4,510 mAh ของในวันพลัส 8 โปร คิดเป็นปริมาณลดลงร้อยละ 4.6 แต่หากคิดว่าจะทำให้ระยะเวลาการใช้งานลดลงไปด้วยนั้น คิดผิด

จากการทดสอบการใช้งานพบว่า การใช้งานทั่วไปสามารถใช้ได้นานถึง 1 วันครึ่ง และบางครั้งเกือบ 2 วัน เช่น ถอดสายชาร์จในเวลา 08.00 น. และแบตฯ อาจจะไปหมดช่วงมื้อค้ำของวันถัดไป ถือว่ามีความประหยัดไฟเป็นเยี่ยมกว่าสมาร์ตโฟนเรือธงส่วนใหญ่ในตลาดตอนนี้ที่ใช้ได้ราว 7-8 ชั่วโมงเต็มที่ ด้านการทดสอบเล่นอินเตอร์เน็ตพบสัญญาณ 4G เล่นได้ติดต่อกัน 11 ชั่วโมงครึ่ง เล่นภาพยนตร์ได้ติดต่อกัน 16 ชั่วโมงครึ่

เป็นที่น่าเสียดายที่ วันพลัส 8 ไม่สนับสนุนการชาร์จไร้สายแบบ วันพลัส 8 โปร ที่เป็นรุ่นพี่ใหญ่ โดยฟีเจอร์นี้นับเป็นสิ่งที่บรรดาสาวกวันพลัสรอมานาน และทำให้วันพลัส 8 นั้นเสียเปรียบเมื่อเทียบกับเรือธงคู่แข่งของค่ายอื่นๆ ในชั่วโมงนี้ ซึ่งต่างก็รองรับระบบดังกล่าวด้วยกันทั้งนั้น

อย่างไรก็ตาม วันพลัส 8 ชดเชยข้อเสียเปรียบด้วยความรวดเร็วในการชาร์จผ่านสายที่ความดันไฟฟ้าถึง 30 วัตต์ (W) ชาร์จได้ถึง 66% ภายในเวลาเพียง 30 นาที! และชาร์จจนเต็มได้ภายในเวลาเพียง 63 นาที ถือว่ารวดเร็วอย่างน่าตื่นตะลึง!!

กล้องถ่ายภาพ

ด้านกล้องถ่ายภาพของวันพลัส 8 มาพร้อมกับกล้องหลังแบบ 3 เลนส์ ได้แก่ เลนส์กว้างความละเอียด 48 ล้านพิกเซล (MP) ขนาดช่องรับแสง f/1.78 พร้อมระบบต่อต้านภาพสะเทือนทั้งแบบฮาร์ดแวร์ (OIS) และซอฟต์แวร์ (EIS) เลนส์ถ่ายภาพระยะประชิด (มาโคร) ความละเอียด 2MP ขนาดช่องรับแสง f/2.4 และเลนส์มุมกว้างพิเศษ (อัลตราวาย) ขนาดช่องรับแสง f/2.2 ส่วนกล้องเซลฟี่มีความละเอียด 16MP ขนาดช่องรับแสง f/2.0 รองรับการถ่ายคลิปได้ละเอียดสูงสุดถึง 8K ที่ 30 เฟรมต่อวินาที (8K @30fps) 4K @60fps, 1080p @60fps และ 720p @ 120fps

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

ภาพปกติ

 

เจาะลึกวันพลัส 8 เรือธงน้องเล็กคุ้มค่าสุด

ภาพมาโคร

 

เอริก ซีแมน ผู้ทดสอบจากแอนดรอยด์อูธอรีตี กล่าวว่า กล้องถ่ายภาพเป็นจุดแตกต่างหลักอีกจุดหนึ่งระหว่างวันพลัส 8 กับรุ่นโปร โดยทางวันพลัสใช้เซ็นเซอร์ภาพรุ่นเก่าอย่าง Sony IMX586 ในเลนส์หลัก และเลนส์ภาพมาโคร แทนเซ็นเซอร์ภาพรุ่นใหม่ และเลนส์เทเลโฟโต้ในวันพลัส 8 โปร ส่งผลให้ไม่มีการซูมแท้ (optical zoom) ได้ โดยระบบการซูมจะเป็นการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งหมด (digital zoom)

ผลการทดสอบการถ่ายภาพพบว่า คุณภาพที่ได้นั้นมีตั้งแต่อยู่ในเกณฑ์ดีไปจนถึงไม่ดี โดยภาพส่วนใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์ดีนั้นมาจากเลนส์หลักในสภาวะแสงที่เพียงพอ มีความคมชัด สีที่สมจริง และแสงที่พอเหมาะ ขณะที่เลนส์กว้างพิเศษนั้นให้ภาพที่สีค่อนข้างชืดและเห็นความบิดของภาพได้ค่อนข้างชัด แต่ที่เห็นจะไม่ค่อยดีนั้นเป็นระบบ HDR ที่คุณภาพที่ได้ออกมานั้นไม่สม่ำเสมอ รวมไปถึงการซูมที่ไม่ค่อยชัดเจน ส่วนกล้องเซลฟี่นั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

ซีแมนมองว่า วันพลัส 8 ไม่ใช่เรือธงน้องเล็กที่สมบูรณ์แบบก็จริง แต่เป็นหนึ่งในสมาร์ตโฟนที่น่าซื้อที่สุด เพราะประกอบด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ที่ทันสมัยและจำเป็นจริงๆ ต่อประสบการณ์การใช้งานเรือธงที่ยอดเยี่ยมสนนราคาเริ่มต้นที่ 699 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 22,000 บาท

ผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ตโฟนเรือธงราคาคุ้มค่าในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ควรพิจารณารุ่นนี้เป็นอันดับต้นๆ

จันท์เกษม รุณภัย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน