“ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์”

เมืองเชียงแสนหรือเวียงเชียงแสน ที่ราบลุ่มริมฝั่งโขง เป็นจุดรวมของการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในอดีตกาลหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ ตั้งบ้านแปงเมืองที่มีนามว่า สุวรรณโคมคำ หรือเชื่อกันว่าคือเมืองเชียงลาว ที่เคยเป็นที่อยู่ของกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่าลาว (คำว่าลาวแปลว่า ผู้ยิ่งใหญ่)

ผู้ปกครองชุมชนในกลุ่มนี้จึงมักมีชื่อนำว่า ขุนลาว กันหลายต่อหลายท่าน

จากสุวรรณโคมคำมาเป็นนาคพันธุสิงห นวัตนคร โยนกนาคนคร (ปัจจุบันที่ตั้งคือ บริเวณทะเลสาบเชียงแสน ปรากฏในตำนานของสิงหนวัติ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 และล่มสลายลงจากแผ่นดินไหว และยุบตัวลงเป็นทะเลสาบเชียงแสนในปัจจุบัน

เมืองเชียงแสนได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ชื่อว่าเมืองเงินยาง หรือภาษาบาลีว่า หิรัญนคร หรือหิรัญนครเงินยาง และเมืองนี้ก็เป็นที่เกิดของพญามังราย ที่ขึ้นมามีอำนาจประมาณปี พ.ศ.1802 ใช้อำนาจและฐานะทางกำลังคน ทุน ทรัพย์สิน ขยายอำนาจไปตลอดบริเวณนี้จนถึงเมืองลำปางเรียกว่า อาณาจักรล้านนาที่ร่วมสมัยกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัย

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง สถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่มีเจดีย์หลวงที่สูงที่สุดของเมืองเชียงแสนคือสูงถึง 88 เมตร หรือ 44 วา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1834 บ้างก็ว่าปี พ.ศ.1887 โดยหลานของพ่อขุนเม็งราย ชื่อ พระเจ้าแสนภู

คติและสัญลักษณ์ของวัดพระธาตุเจดีย์หลวงก็คือ จักรวาลทัศน์ที่มีพระเจดีย์หลวงหรือเจดีย์ใหญ่หรือเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีวิหารและพระธาตุเล็ก 4 พระองค์โดยรอบวิหารคือ อนุทวีป ทั้งสี่ ส่วนเจดีย์องค์ย่อมคงหมายถึงสัตต บริเวณหรือเขาที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

การก่อสร้างวัดพระธาตุเจดีย์หลวงเชียงแสน ก็คือ การประกาศความสำคัญของเมืองหรือความเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจของบริเวณกลุ่มเมืองโดยรอบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน