เมื่อเวลา 15.09 น. วันที่ 21 ก.ย. กองทัพเรือจัดพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ปืน โดย พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

7

8

9

กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่เข้าประจำการ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติโดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ โดยกองทัพเรือ ได้จัดซื้อแบบแปลนรายละเอียด และพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal ทั้งนี้ กองทัพเรือได้มอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบ

5

ในการสร้างเรือ โดยใช้พื้นที่ของอู่ทหารเรือธนบุรีเป็นสถานที่ต่อเรือ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองกับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกรมอู่ทหารเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือ และรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และล่าสุด คือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่และสมรรถนะสูง

6

ในขั้นตอนของการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนิน การต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน และหลังจากที่ได้ปล่อยเรือลงน้ำแล้ว ได้นำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยในระยะที่ 2 นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้งทดสอบได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของบริษัทเอกชน แต่ถือเป็นการดำเนินการในการสร้างเรือขนาดใหญ่อีกลำด้วยการพึ่งพาตนเอง

1

 

คุณลักษณะทั่วไปประกอบด้วย

– ความยาวตลอดลำ 58 เมตร – ความกว้างกลางลำ 9.3 เมตร
– ความลึกกลางลำ 5.1 เมตร – กินน้ำลึกเต็มที่ 2.9 เมตร
– ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน

2

ขีดความสามารถของเรือตรวจการณ์ปืน

– ความเร็วสูงสุดที่ระวางขับน้ำสูงสุด 23 นอต
– ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล
– ความคงทนทะเลจนถึงสภาวะระดับ 4 (Sea State 4)
– มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืด เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง
– มีห้องและที่พักอาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพลประจำเรือตามอัตรา 53 นาย

ขีดความสามารถในการปฏิบัติการ (Operation Capabilities)
– ต่อต้านภัยผิวน้ำ ด้วยการซ่อนพราง การใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ และการชี้เป้าให้กับเรือผิวน้ำและอากาศนาวี
– การโจมตีที่หมายบนฝั่ง ด้วยอาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
– การป้องกันฝั่ง การสกัดกั้น และการตรวจค้นด้วยระบบตรวจการณ์ และเรือยางท้องแข็งไฟเบอร์กลาสความเร็วสูง (RIB)
– การป้องกันภัยทางอากาศในลักษณะการป้องกันตนเอง ด้วยระบบควบคุมการยิง และการใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
– การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลตามแนวชายฝั่ง
– การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ
– การสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ

อาวุธประจำเรือ

– ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร OTO Melara (Refurbished) จำนวน 1 กระบอก
– ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร MIS จำนวน 1 กระบอก
– ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก

3

อนึ่ง ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ

ตามประเภทของเรือต่าง ๆ ไว้ดังนี้

– เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัวบุคคล บรรดาศักดิ์ หรือสกุล ของผู้ประกอบคุณประโยชน์ไว้แก่ชาติ เช่น เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน
– เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง
– เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง และเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น เรือหลวงสุโขทัย

เรือหลวงรัตนโกสินทร์

– เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเล สมัยโบราณที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น เรือหลวงอุดมเดช เรือหลวงปราบปรปักษ์
– เรือเร็วโจมตี (ปืน,ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส
– เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้อิทธิฤทธิ์ในวรรณคดีในด้านการดำน้ำ เช่น เรือหลวงมัจฉานุ
– เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิรบที่สำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น เรือหลวงบางระจัน
– เรือยกพลขึ้นบก เรือลากจูง เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น เรือหลวงอ่างทอง (เรือยกพลขึ้นบก) เรือหลวงมาตรา (เรือน้ำมัน) เรือหลวงสิมิลัน (เรือส่งกำลังบำรุง)
– เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น เรือหลวงหัวหิน
– เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งชื่อตามเรือรบในลำน้ำ สมัยโบราณที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น เรือหลวงทยานชล
– เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวที่สำคัญ เช่น เรือหลวงจันทร์
– เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายและเหมาะกับหน้าที่ของเรือนั้น เช่น

เรือหลวงจักรีนฤเบศร
– เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 200 ตัน) ตั้งชื่อด้วยอักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือนั้น มีหมายเลขต่อท้าย เช่น เรือ ต.991

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน