พัฒนาคุณภาพวัยทำงาน : หลาก&หลายข่าวสด

พัฒนาคุณภาพวัยทำงาน : หลาก&หลายข่าวสด – สังคมรุ่นใหม่ที่ผู้คนมักใช้เวลาไปกับการทำงานจนละเลยสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไปจนถึงการกินให้ครบมื้อในแต่ละวันที่กลายเป็นเรื่องยาก พฤติกรรมการ ละเลยเล็กๆ น้อยๆ ที่สะสมในแต่ละวันจึงส่งผลให้เกิด “ปัญหาสุขภาพ” ตามมา และอาจส่งผลต่อองค์กรในอนาคตเช่นกัน

พัฒนาคุณภาพวัยทำงาน

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการสมอ.องค์กรแห่งความสุข” มุ่งลดโรค พัฒนาสังคมโต๊ะทำงานคนภาครัฐให้เอื้อสุขภาพ ชูโมเดล “Happy Workplace” หลังพบเป็นโรคอ่วม กินไม่ถูกหลักโภชนาการ หวังลดค่ารักษาพยาบาล ไม่ตายก่อนวัยอันควร

นายธนะ อัลภาชน์ ผู้อำนวยการกองตรวจการมาตรฐาน 2 รักษาราชการแทนรองเลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า จากผลการสำรวจคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สมอ. เมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา พบว่า สุขภาพทางกายของข้าราชการและบุคลากร สมอ. ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 60.8) มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วงภาวะน้ำหนักเกิน และยังพบอีกว่าบุคลากรของสมอ.มีโรคประจำตัวอยู่เกือบ 1 ใน 3 (ร้อยละ 30.1) โรคประจำตัวที่พบส่วนใหญ่ คือ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง รองลงมา ได้แก่ เบาหวาน โรคหัวใจ และภูมิแพ้

ส่วนพฤติกรรมการบริโภค พบว่า มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 53.5) บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ผัด ทอด ใส่กะทิ เบเกอรี่ เกือบเป็นประจำ โดยมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมใช้เวลาแต่ละครั้งมากกว่า 30 นาที ขึ้นไปเป็นประจำ

พัฒนาคุณภาพวัยทำงาน

สมอ.ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาวะที่ดีของบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จของหน่วยงานตามภารกิจ จึงร่วมกับ สสส. และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดทำ “โครงการ สมอ. องค์กรแห่งความสุข” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน กำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการในระยะแรก ที่สามารถดำเนินการได้เลยทันทีในสถานที่ทำงาน คือ

1.การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ผ่านการส่งเสริมการออกกำลังกาย แบบง่ายๆ ในพื้นที่ทำงานด้วยท่าออกกำลังกายต่างๆ ที่ถูกต้อง และเสริมด้วยการมีชมรมกีฬาที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ได้แก่ ชมรมแอโรบิก โยคะ แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส ซึ่งมีสมาชิกรวมกันมากกว่า 200 คน และจะขยายชมรมเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทุกคนในหน่วยงาน

2.การดูแลอาหารว่างสุขภาพในการจัดประชุม ซึ่งจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคและสะดวกในการ เตรียมอาหารด้วย ทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ ของข้าราชการและบุคลากร ในการรองรับการปฏิรูปประเทศไปสู่การเป็นประเทศ ไทย 4.0 ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติในขณะนี้

ด้าน นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. กล่าวว่า สสส. โดยแผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรริเริ่มแนวคิดองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) มาตั้งแต่ปี 2547 ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นำแนวคิด Happy Workplace จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรหรือไปเป็นนโยบายขององค์กร เพื่อพัฒนาสุขภาวะของบุคลากรที่เป็นทั้งข้าราชการและพนักงาน ลูกจ้างประจำและอื่นๆ ครอบคลุมในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาวะทางสังคม

การให้ทักษะการจัดการด้านการเงิน กว่า 10,000 แห่ง โดยเป็นการสร้างความตระหนักและเสริมความรู้ให้ความสำคัญ เรื่องสุขภาวะเชิงป้องกันเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น เช่น ความเครียด อุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับงาน โรคที่เกิดจากการทำงาน โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อาทิ บริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม การออกกำลังกายไม่เพียงพอ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในภาครัฐให้ดีขึ้น” นพ.ชาญวิทย์กล่าว

ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน

ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน

ขณะที่ ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภาครัฐระยะเวลา 3 ปี ด้วยแบบสำรวจองค์กรสุขภาวะ (CU-QWL) ตั้งแต่ปี 2558-2560 พบว่าบุคลากรภาครัฐมีแนวโน้มเกี่ยวกับปัญหาด้านภาวะโภชนาการเกินกว่าร้อยละ 50 โดยเฉพาะการมีภาวะเสี่ยงต่อโรคมีอยู่เกือบร้อยละ 10

รวมทั้งมีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเพิ่มขึ้นด้วย จากร้อยละ 40.6 ในปี 2558 เป็น 54.8 ในปี 2560 ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบปัญหาความเครียดที่เกิดจากการทำงาน พบว่ากลุ่มผู้ที่มีความเครียดบ่อยถึงเป็นประจำ มีถึงร้อยละ 20 ซึ่งสอดคล้องการมีโรคประจำตัว เกิดจากการทำงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ โรคไมเกรน ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 38-53 ปี

ยิ่งไปกว่านั้นยังพบอีกว่าการมีเวลาทำกิจกรรมส่วนตัวในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.5 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 21.6 ในปี 2560 ดังนั้น สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงพร้อมทำงานกับ สสส. และ สมอ. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เกิดคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรอย่างเหมาะสมในแต่ละส่วนงาน

นิชานันท์ นิวาศะบุตร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน