ดยุกลักเซมเบิร์ก ทรงชื่นชมเบญจรงค์

ดยุกลักเซมเบิร์กศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) : SACICT นำหัตถศิลป์ไทยยุคดิจิตอลอวดสายตาชาวโลก ชูภูมิปัญญาดั้งเดิมฝีมือคนไทย ครูศิลป์ของแผ่นดินและทายาทช่างศิลปหัตถกรรม

รวมทั้งคนรุ่นใหม่ ใส่ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ผสานแรงบันดาลใจที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังและ สุนทรียภาพ กลายเป็นงานอาร์ตระดับมาสเตอร์พีซ แกรนด์ดยุกอ็องรีราชรัฐแห่งลักเซมเบิร์ก ทรงชื่นชม ชิ้นงานเบญจรงค์ไทย ในงาน Revelations 2019 Grand Palais กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ได้รับเชิญจาก Ateliers d’Art de France องค์กรเอกชนด้านศิลปะที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งมากว่า 150 ปี และมีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ มากกว่า 100 แห่งทั่วโลก ให้เข้าร่วมงาน Revelations 2019

ดยุกลักเซมเบิร์ก

การแสดงศิลปะร่วมสมัย (Fine Art) ที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของยุโรป นานาชาติให้การยอมรับว่าเป็นงานที่ดีที่สุดของโลกงานหนึ่ง ศิลปินทั่วโลกและบุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการต่างปักหมุดเข้าร่วมชม ผลงานของผู้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยกว่า 450 คนจาก 33 ประเทศ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 .. Grand Palais กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ในพิธีเปิดมีแกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์กเสด็จเป็นประธานเปิดงาน ทรงเยี่ยมชมพื้นที่การจัดแสดงหัตถศิลป์ของประเทศไทยและสนพระราชหฤทัยในชิ้น งานเบญจรงค์

ประเทศไทยได้รับคัดเลือกเข้าไปจัดแสดงในโซน The Exhibition Le Banquet โซนพิเศษที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นสุดยอดผลงานระดับโลกใน 11 ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ แคเมอรูน แคนาดา ชิลี สเปน อินเดีย อิหร่าน ลักเซมเบิร์ก โรมาเนีย ไทย และเจ้าภาพฝรั่งเศส การที่ประเทศไทยโดย SACICT เป็นประเทศเดียวในอาเซียนถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจที่งาน หัตถศิลป์ไทยได้อวดโฉมปรากฏต่อสายตาชาวโลก

ดยุกลักเซมเบิร์ก

สำหรับผลงานหัตถศิลป์ไทยที่จัดแสดงเป็นงาน ฝีมือที่มาจากครูศิลป์ของแผ่นดิน ทายาทศิลปหัตถกรรม และศิลปินรุ่นใหม่ผู้ชนะการประกวด SACICT Innovative Crafts Award ทั้งประเภทงานผ้า โลหะ เครื่องหนัง และเบญจรงค์ อาทิ ผลงาน บัว ปลาอานนท์ หัวโขนทศกัณฐ์ชีวภาพ เบญจรงค์จุดเริ่มต้น BIO-TULIP Chair และ Painting of Capital

นางอัมพวันยังเป็นหนึ่งในแขกรับเชิญร่วม บรรยายเปิดมุมมอง “Thai Fine Art” ในงาน Symposium ร่วมกับ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ หรือศิลปิน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปูทางการพัฒนาศิลปะหรือหัตถกรรมร่วมสมัยของโลก ให้ขับเคลื่อนและพัฒนาสู่อนาคต

ดยุกลักเซมเบิร์ก

ผลงานหัตถศิลป์ไทยสมัยใหม่จึงต้องสวยและแปลกแตกต่าง องค์ประกอบที่ผ่านการคิดมาอย่างใส่ใจ ผ่านกรรมวิธีที่ทั้งยากและใช้เวลามากมายในการสร้างสรรค์ ผนวกกับแนวคิดทางศิลปะสามารถสร้างสุนทรียภาพ ความงดงามในจิตใจ เกิดความอิ่มใจและเอิบอาบในวิถีแห่งภูมิปัญญาที่นำกลับมาเติมเต็มชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน นานาชาติได้เห็นถึงศิลปหัตถกรรมไทยบนความเปลี่ยนแปลงของโลก พัฒนาการงานหัตถศิลป์ของไทยจากเดิมเป็นของใช้ของชาวบ้าน

ต่อมาภูมิปัญญาเหล่านี้เกิดการพัฒนาและฝึกฝนจนเกิดเป็นงานเชิงช่างชั้นสูง ที่รังสรรค์ผลงานเพื่อตอบสนองความเชื่อทางศาสนา และส่งเสริมบ่งบอกสถานภาพของผู้ใช้ เช่น เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ มีความงดงามประณีตวิจิตรตระการตา เพื่อแสดงออกถึงความเคารพเทิดทูน

เมื่องานช่างวิจิตรศิลป์แพร่ขยายและ คลี่คลายสู่ประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้งานศิลปหัตถกรรมจำเป็นต้องปรับตัว SACICT ผลักดันให้วงการหัตถศิลป์ไทยมีพัฒนาการที่สอดรับกับกระแสของประชาคมโลก

ดยุกลักเซมเบิร์ก

ด้วยภารกิจอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับทั้ง ในและต่างประเทศ โดยมีกลยุทธ์สำคัญคือหัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบันหรือ “Today Life’s Crafts” หัตถศิลป์ยุคใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนยุคปัจจุบันได้อย่าง ลงตัว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน