พระราชดำรัสยอมจำนน ของจักรวรรดิญี่ปุ่น (ตอนแรก)

พระราชดำรัสยอมจำนน ของจักรวรรดิญี่ปุ่น – คําประกาศยอมแพ้ของจักรพรรดิ ญี่ปุนว่าอย่างไร สงครามโลก จึงสงบ

มาเก๊า

ตอบ มาเก๊า

12.00 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) จักรพรรดิฮิโระฮิโตะแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น พระราชทานพระราชดำรัสทางวิทยุที่บันทึกไว้ แพร่สัญญาณทั่วจักรวรรดิ พระราชดำรัสดังกล่าวอันเรียกว่า “เกียวกุอง โฮโซ” หรือการออกอากาศพระสุรเสียง หรือพระราชดำรัสว่าด้วยการสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทรงประกาศต่อชาวญี่ปุ่นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยอมรับปฏิญญาพ็อตซ์ดัม ซึ่งต้องการให้ทหารญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่สอง

พระราชดำรัสยอมจำนน ของจักรวรรดิญี่ปุ่น (ตอนแรก) : รู้ไปโม้ด

พระราชดำรัสมีขึ้นหลังกองทัพสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิ และการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหภาพโซเวียต (ซึ่งก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นหวังให้เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยสันติภาพบนเงื่อนไขที่ญี่ปุ่นได้ประโยชน์) การประกาศสงครามนั้นเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมจำนน เนื่องจากมิได้จัดสรรกำลังไว้เพียงพอสำหรับต้านทานการรุกจากภาคพื้นทวีป ด้วยทุ่มกำลังไปที่การป้องกันเกาะมาตุภูมิเป็นสำคัญ

อาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นมีพระราชดำรัสต่อสามัญชน แม้จะเป็นพระราชดำรัสผ่านแผ่นเสียงก็ตาม พระราชดำรัสดังกล่าวเผยแพร่ในรูปแบบทางการและใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ค่อนข้างพ้นสมัยซึ่งใช้กันในราชสำนักแต่โบราณ นอกเหนือจากนั้นพระราชดำรัสมิได้หมายความถึงการยอมจำนนโดยตรง แต่ตรัสว่าพระองค์ได้พระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาลในการยอมรับข้อตกลงของปฏิญญาพ็อตซ์ดัมทั้งหมด ทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ฟังจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าญี่ปุ่นได้ยอมจำนน หรือพระจักรพรรดิทรงเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านการรุกรานของข้าศึกต่อไป คุณภาพเสียงที่ต่ำของการออกอากาศวิทยุ เช่นเดียวกับภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้กันในราชสำนัก เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัย

พระราชดำรัสยอมจำนน ของจักรวรรดิญี่ปุ่น (ตอนแรก) : รู้ไปโม้ด

เนื่องจากแม้เนื้อหาหลักคือการยอมจำนนของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีส่วนใดเลยที่ระบุคำว่า “ยอมแพ้”

เพื่อคลี่คลายความสับสนที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในตอนสรุปของพระราชดำรัส ผู้ประกาศวิทยุประกาศอย่างชัดเจนว่า พระราชดำรัสของสมเด็จพระจักรพรรดิหมายความว่าญี่ปุ่นกำลังจะยอมจำนน ตามข้อมูลของนักหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศส โรเบิร์ต กิลเลน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในโตเกียว ณ ขณะนั้น หลังจากผู้ประกาศสรุปพระราชดำรัสแล้ว ชาวญี่ปุ่นก็กลับไปยังบ้านหรือสำนักงานธุรกิจของตนเอง เป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อซึมซับและไตร่ตรองความสำคัญของประกาศนั้นอย่างเงียบๆ

พระราชดำรัสมิได้ถูกนำออกอากาศโดยตรง แต่เป็นการเล่นเสียงจากแผ่นเสียงซึ่งบันทึกไว้จากในพระราชวังหลวงระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ.2488 ทหารญี่ปุ่นหลายฝ่ายโกรธมากกับความคิดที่ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิกำลังจะยุติสงคราม พวกเขาถือเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยิ่ง นายทหารนับพันนายพยายามบุกเข้าไปในพระราชวังหลวงในเย็นวันที่ 14 สิงหาคม เพื่อที่จะทำลาย แผ่นเสียง เหตุการณ์นี้ต่อมาถูกเรียกว่า กบฏในพระราชวัง แต่บันทึกเสียงถูกลักลอบนำออกจากพระราชวังหลวงในตะกร้าผ้าซักซึ่งมีชุดชั้นในของสตรีอยู่เต็ม กระทั่งออกอากาศได้ในวันรุ่งขึ้น

พระราชดำรัสยอมจำนน ของจักรวรรดิญี่ปุ่น (ตอนแรก) : รู้ไปโม้ด

หลังการออกอากาศบันทึกพระสุรเสียง แผ่นบันทึกเสียงที่ใช้ในการออกอากาศสูญหายไปท่ามกลางความโกลาหลหลังการประกาศยอมจำนน แต่ช่างเทคนิคคนหนึ่งของสถานีวิทยุได้ทำสำเนาไว้อย่างลับๆ และต่อมาได้ส่งมอบให้หน่วยงานของฝ่ายผู้ยึดครองญี่ปุ่น เป็นต้นฉบับของสำเนาเสียงที่ปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้

ฉบับพรุ่งนี้ (21 ส.ค.) อ่านใจความสำคัญของ “เกียวกุอง โฮโซ”

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน