ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ตอนจบ)

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

โดย…น้าชาติ ประชาชื่น

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ตอนจบ) – ฉบับวานนี้ (30 ก.ย.) “เรือง” ถามว่า ในขบวนพยุหยาตราชลมารค 2562 มีเรือกี่ลำ ฝีพายกี่คน เมื่อวานตอบถึง 10 ลำ ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นสายเรือพระที่นั่งแล้ว วันนี้พบกับเรือลำอื่นๆ คำตอบนำมาจากรายงานในประชาชาติธุรกิจ www.prachachat.net ว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 (24 ตุลาคม) ประกอบด้วย เรือ 52 ลำ กำลังพลประจำเรือรวม 2,311 นาย

ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง ประกอบด้วย เรือประตูหน้า เรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และเรือคู่ชัก รวมเป็น 14 ลำ

เรือทองขวานฟ้า-เรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า หรือเรือนำหน้าขบวน เรือทั้ง 2 ลำมีลักษณะเป็นเรือดั้งทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทอง หัวเรือแกะสลักลวดลาย ท้ายเรือลงรักปิดทองประดับกระจก ใช้กำลังพลประจำเรือลำละ 43 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 39 นาย และผู้ให้สัญญาณ 1 นาย มีปลัดกระทรวงกลาโหมนั่งในกัญญาเรือทองขวานฟ้า ปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่งในกัญญาเรือทองบ้าบิ่น

ขบวนพยุหยา ตราทางชลมารค (ตอนจบ)

กองทัพ​เรือ​จัดการ​ซ้อมใหญ่​เหมือน​จริง​ขบวน​เรือ​พยุหยาตรา​ทาง​ชลมารคฯ ครั้ง​ที่ 1 ใน​แม่น้ำ​เจ้าพระยา เส้นทาง ตั้งแต่​สะพาน​พระราม 8 (ท่า​วาสุกรี) ถึง วัดอรุณราชวราราม​ราชวรมหาวิหาร โดย​นางสาว​ยิ่ง​ลักษณ์ ชิน​วัตร นายกรัฐมนตรี​และ​คณะ​รัฐมนตรี พร้อม​ทั้ง​คณะ​ผู้​บัญชาการ​เหล่า​ทัพ​และ​คณะ​ทูต​ต่าง​ประเทศ​เข้า​ร่วม​ชม​การ​ซ้อมฯ ณ อาคาร​ราช​นาวิก​สภา กองทัพ​เรือ วัน​ที่ 2 พฤศจิกายน 2555(ถ่าย​ภาพ​จาก​ดาดฟ้า อาคาร​หอประชุม​กองทัพ​เรือ)

 

ขบวนพยุหยา ตราทางชลมารค (ตอนจบ)

ขบวน​เรือ​พยุหยาตรา​ชล​มา​คร

เรือเสือทะยานชล-เรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต มีหน้าที่สำหรับทำการรบโดยเฉพาะ ตัวเรือวาดลงสีรูปเสือไว้ที่หัวเรือ มีช่องที่มีปืนใหญ่ยื่นออกมา ท้องเรือทาสีแดง ใช้กำลังพลประจำเรือลำละ 34 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 26 นาย พลสัญญาณ 1 นาย และคนนั่งประจำคฤห์ 3 นาย

เรืออสุรวายุภักษ์-เรืออสุรปักษี โขนเรือของเรืออสุรวายุภักษ์ เป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก องค์สีม่วง ส่วนโขนเรือของเรืออสุรปักษีเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก องค์สีเขียว ใช้กำลังพลประจำเรือลำละ 57 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 40 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 นาย และคนตีกลองชนะ 10 นาย

เรือกระบี่ราญรอนราพณ์-เรือกระบี่ปราบเมืองมาร ลักษณะโขนเรือของเรือกระบี่ปราบเมืองมารเป็นรูปวานร (หนุมาน) ร่างกายสีขาว ส่วนโขนเรือของเรือกระบี่ราญรอนราพณ์เป็นรูปวานร (นิลพัท) ไม่สวมเครื่องประดับหัว ร่างกายสีดำ ใช้กำลังพลประจำเรือลำละ 53 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 36 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 นาย และคนตีกลองชนะ 10 นาย

เรือพาลีรั้งทวีป-เรือสุครีพครองเมือง ลักษณะโขนเรือของเรือพาลีรั้งทวีปเป็นรูปวานร (พาลี) สวมมงกุฎ ร่างกายสีเขียว ส่วนโขนเรือของเรือสุครีพครองเมืองเป็นรูปวานร (สุครีพ) สวมมงกุฎ ร่างกายสีแดง หัวเรือกว้างมีรูกลมสำหรับติดตั้ง ปืนใหญ่ ใช้กำลังพลลำละ 41 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 34 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 นาย

เรือครุฑเหินเห็จ-เรือครุฑเตร็จไตรจักร ลักษณะโขนเรือของเรือทั้ง 2 ลำเป็นรูปครุฑจับนาค 2 ตัวชูขึ้น เรือครุฑเหินเห็จกายสีแดง ส่วนเรือครุฑเตร็จไตรจักรกายสีชมพู ใช้กำลังพลประจำเรือลำละ 41 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 34 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 นาย

เรือเอกไชยเหินหาว-เรือเอกไชยหลาวทอง ทำหน้าที่ลากเรือพระที่นั่ง เช่น ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อน้ำเชี่ยวต้องการให้แล่นเร็วขึ้น เรือ 2 ลำมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ หัวเรือเป็นรูปดั้ง เชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (สัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกร แต่มีหัวเป็นงู หรือนาค) ที่ต่างกันเป็นคือสีของดวงตาของเหรา (เรือเอกไชยเหินหาวดวงตาสีทอง กระทงเรือมีแท่นรองฉัตร 7 ต้น ด้วยเคยเป็นเรือพระที่นั่งทรงมาก่อน ส่วนเรือเอกไชยหลาวทองดวงตาสีดำ) ใช้กำลังพลประจำเรือลำละ 44 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 38 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย

ริ้วสายนอก ประกอบด้วย เรือดั้ง 22 ลำ เรือแซง 6 ลำ แบ่งเป็นริ้วละ 14 ลำ รวมเป็นจำนวน 28 ลำ ดังนี้ เรือดั้ง ทำหน้าที่เป็นเรือป้องกันขบวนเรือ มี 22 ลำ เรือดั้ง 1-20 ทาสีน้ำมันเป็นสีดำ ส่วนเรือดั้ง 21-22 เป็นสีทอง ทั้ง 22 ลำไม่มีลวดลาย ส่วนหัวตั้งสูงงอน กำลังพลประจำเรือประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย พลสัญญาณ 1 นาย เส้า 2 นาย ประจำคฤห์ 5 นาย (นายทหาร 1 นาย พลทหาร 4 นาย) เหมือนกันทุกลำ แต่กำลังพลฝีพายจำนวนแตกต่างตามความยาวของเรือที่ไม่เท่ากัน โดยเรือดั้ง 1 ฝีพาย 32 นาย เรือดั้ง 2-4 ฝีพาย 30 นาย เรือดั้ง 5-11 ฝีพาย 28 นาย เรือดั้ง 12-22 ฝีพาย 16 นาย

เรือแซง มีจำนวน 7 ลำ ในผังการจัดรูปขบวนเรือ เรือแซง 7 ซึ่งเป็นลำที่ปิดท้ายขบวนนั้นอยู่ในตำแหน่งริ้วสายกลางต่อจากเรือตำรวจ ส่วนเรือแซงที่อยู่ในริ้วสายนอกมีจำนวน 6 ลำ รูปร่างและลักษณะหัวเรือเชิดขึ้นเหนือแนวน้ำ ตัวเรือทาสีดำ กำลังพลประจำเรือ ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย พลสัญญาณ 1 นาย เหมือนกันทุกลำ ยกเว้นเรือแซง 1-6 มีฝีพาย 24 นาย ส่วนเรือแซง 7 มีฝีพาย 30 นาย

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน