เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี1

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี 1 – “ขยะมูลฝอย” นับเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษพบว่า ในปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอย 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 คิดเป็นร้อยละ 1.64

ท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงริเริ่มโครงการ “Green Society : Trash Attack Ep.1 – ปฏิบัติการโจมตีถังขยะปีที่ 1” มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาจากต้นทางโดยการปลูกฝังจิตสำนึกและวางรากฐานองค์ความรู้การบริหารจัดการขยะที่ถูกต้อง ปลอดภัย ภายใต้แนวคิด 3Rs คือ Reduce การใช้น้อย, Reuse การใช้ซ้ำ และ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ และต่อยอดการเรียนรู้สู่การลงมือทำนวัตกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้เด็กและเยาวชน

เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี 1

โครงการ “Green Society : ปฏิบัติการโจมตีถังขยะปีที่ 1” เริ่มดำเนินการในเดือน พ.ค.2562 โดยคัดเลือกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตดอนเมือง 3 แห่งเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา และโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันอุปถัมภ์) โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมโรดโชว์ การศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะที่ศูนย์รีไซเคิลขยะชุมชนพบสุข จ.นนทบุรี กิจกรรมเวิร์กช็อปการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยหมัก และการทำน้ำหมักชีวภาพในรูปแบบต่างๆ

เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี 1

เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี 1

ภายหลังการบ่มเพาะองค์ความรู้ ท่าอากาศยานดอนเมืองจัดการประกวดผลงานนวัตกรรมดังกล่าว จัดแสดงนิทรรศการและผลการดำเนินโครงการ ที่ห้องโถงชั้น 3 อาคารสำนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง มีทีมนักเรียนส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโรงเรียนละ 3 ผลงาน รวมจำนวน 9 ผลงาน ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรับทุนการศึกษาจำนวน 20,000 บาท ได้แก่ ทีม “Heat resistant Gloves” โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา จากผลงาน “ผักตบชวากันความร้อน” สมาชิกประกอบด้วย น.ส.ฐิติวัลคุ์ ท้องช้าง น.ส.เสาวลักษณ์ ไทยบุญสา น.ส.ปรียาภา คงวารี และน.ส.กชกร ผลาผล

เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี 1

น.ส.ฐิติวัลคุ์ ท้องช้าง หัวหน้าทีมกล่าวถึงผลงานว่า “แรงบันดาลใจเกิดจากการเห็นผักตบชวาแถวบ้านซึ่งแพร่พันธุ์รวดเร็ว ส่งผล กระทบหลายด้าน จึงคิดนำขยะวัชพืชชนิดนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จากการศึกษางานวิจัยพบว่าผักตบชวามีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ต้านการถ่ายเทความร้อนได้สูง กระบวนการทำเริ่มจากการเก็บผักตบชวาจากแหล่งน้ำมาตากแห้งประมาณ 4-5 วัน จากนั้นนำไปอบกำมะถันเพื่อกันเชื้อรา แล้วนำเตารีดมารีดที่ตัวผักให้แบนง่ายต่อการสาน เตรียมผักตบชวาให้ได้จำนวนเส้นตามที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาสานขึ้นรูปเป็นกล่องและนำไปทดลองบรรจุกล่องข้าวเพื่อทดสอบร่วมกับกล่องฟอยล์และกล่องพลาสติกธรรมดา วัดอุณหภูมิเริ่มต้นที่ 90 องศาเซลเซียส พบว่าในเวลา 90 นาทีกล่องข้าวที่อยู่ในกล่องผักตบชวามีอุณหภูมิลดลงน้อยที่สุดอยู่ที่ 47 องซาเซลเซียส ขณะที่กล่องชนิดอื่นอุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส”

เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี 1

“การได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดี ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยิ่งมนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งต่างๆ รอบตัวยิ่งทำให้มีขยะเพิ่มมากขึ้น จึงอยากชวนทุกคนหันมาใส่ใจช่วยกันลดปริมาณขยะจากต้นทางด้วยตนเอง จะเกิดประโยชน์และผลดีที่เทียบไม่ได้กับการมาคัดแยกหรือแปรรูปขยะ เพื่อช่วยให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติและโลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้น” ฐิติวัลคุ์กล่าว

เยาวชนรักษ์โลก ‘โจมตีถังขยะ’ปี 1

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม “Garbage Disposal” โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) ผลงาน “เครื่องกำจัดเศษอาหาร” รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม “Flower Pot Save World” โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) ผลงาน “กระถางต้นไม้รักษ์โลก” และรางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ทีม “Reuse Foam” โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา, ทีม “ตนุ 1” และทีม “E.ไพโร” โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง

ภายในงานยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตดอนเมือง บริษัท ไทย แอร์เอเชีย จำกัด และบริษัท ไทย ไลอ้อน เมนทารี จำกัด ร่วมจัดกิจกรรมและเกมในรูปแบบต่างๆ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน