“ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์”

สาธารณรัฐประชาชนประชาธิปไตยลาว หรือที่คนไทยเคย ชินกับคำว่า ประเทศลาว หรือเมืองลาว เป็นประเทศที่ไม่มีสัตว์นักล่า ปลายสุดของสัตว์กินเนื้อ ที่เรียกว่า “สิงโต” เช่นเดียวกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่เรียกว่า ดินแดนอีสาน

ดังนั้น เรื่องราวความหมายหรือสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง องอาจ กล้าหาญ และความงามของสิงห์ จึงมิได้ปรากฏในคติและความเชื่อที่นำมาเป็น องค์ประกอบที่แสดงสัญลักษณ์ทางงานสถาปัตยกรรม

ในภาพมีรูปที่นับว่าเป็นสิงห์ ปรากฏอยู่ข้างระเบียงเสาวัดพระแก้ว เวียงจันทน์ ซึ่งน่าจะเป็นรูปสิงห์ที่ทำขึ้นใหม่หรือนำมาจากที่อื่นมาตั้งประดับไว้ เพราะวัดพระแก้ว เวียงจันทน์ เองนั้น ก็บูรณะขึ้นใหม่จากซากวัดเดิมที่ชำรุด ทรุดโทรม เมื่อปี พ.ศ. 2480-2483 ปัจจุบันเรียกว่า หอพระแก้ว มีสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์

ส่วนรูปปูนปั้นที่เป็นสิงห์ที่ปรากฏอยู่ในส่วนเชิงบันไดพระอุโบสถเดิมของวัดมโนภิรมย์ จังหวัดมุกดาหาร (ซึ่งดูคล้ายตัวมกรสัตว์ในจินตนาการความเชื่อทางศาสนา) ดูจะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของสิงห์ที่เป็นสัตว์ที่มีอยู่บริเวณป่าหิมพานต์ คงได้รับคตินี้มาจากวัฒนธรรมของภาคกลางหรือภาคเหนือของประเทศ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน