“กรุงเทพมหานคร” ถ้าเราได้ยินชื่อนี้เมื่อสักประมาณ 30 ปีที่แล้วเราคงนึกถึงวัดพระแก้ว ถนนเยาวราช หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่เอกลักษณ์ของเมืองหลวง แต่ถ้าวันนี้เราเอ่ยชื่อคำว่า “กรุงเทพ” สิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงคงจะเป็นคำว่ารถติด หรือ ภาพรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีผู้คนอัดแน่นกันมาเต็มขบวนแล่นผ่านเข้ามาในหัวแน่ๆ

สถานีสยามคนเพียบ! บีทีเอสปรับความถี่เดินรถ เร่งระบายผู้โดยสาร

รู้หรือไม่ว่า…งบประมาณของกระทรวงคมนาคมปี 63 มีวงเงินรวมกว่า 6.4 ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่นั้นจะถูกแบ่งให้กับกรมขนส่งทางบก กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท (อ้างอิงตัวเลขจากเอกสารบันทึกข้อความ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) แต่อย่างไรก็ตามอย่างที่เราเห็นกันว่าขนส่งสาธารณะของไทยนั้นก็ยังมีข้อเสียอยู่เยอะและยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

ใช้ทน!!รถเมล์ไทยเป็นยังไงถ้าเทียบกับต่างประเทศ[รีวิวฟีเจอร์รถเมล์ไทย] - YouTube

อ้างอิงจากเว็บไซต์ TomTom.com ได้ทำการสำรวจลงพื้นที่ 416 เมือง จาก 57 ประเทศทั่วโลก โดยสำรวจของมูลเชิงลึกในปี 2019 ทั้งแผนผังเมือง กฎหมายบังคับใช้ และประสบการณ์ของผู้ใช้ถนน เพื่อเป็นข้อมูลในการค้นคว้าวิจัยในครั้งนี้พบว่า3 อันดับประเทศที่รถติดมากที่สุดในโลก คือ อันดับแรกตกเป็นของเมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และ เมืองโบโกต้า ประเทศโคลัมเบีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 11 เป็นรองเมืองจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้ขับขี่และผู้โดยสารยานพาหนะในไทยจะเสียเวลาติดอยู่บนท้องถนนในช่วงเวลาเร่งด่วนเฉลี่ยถึง 56 ชั่วโมงต่อปี

ไทย" อันดับ 1 ประเทศที่รถติดที่สุดในโลก

นอกเหนือจากนี้ประเทศไทยยังติดอันดับรั้งท้ายจากผลวิจัยคุณภาพของระบบขนส่งสาธารณะ ที่ทาง “Arcadis” บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลกได้ทำการสำรวจไว้ พบว่ากรุงเทพฯติดอยู่ที่อันดับที่ 92 จาก 100 เมือง ปัจจัยที่ใช้ในการทำสำรวจในครั้งนี้คือการประเมิณด้านผลกระทบกับประชาชน, สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

Jack Pongpat no Twitter: "เพราะว่า #กรุงเทพชีวิตดีๆที่ลงตัว 🙄… "

“รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน” เป็นขนส่งสาธารณะจำเป็นที่สุดของคนกรุง ซึ่งค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นจะตกอยู่ที่ 16 – 59 บาท ทางเว็บไซต์ worldatlas ได้ออกมาเผยข้อมูลว่าค่าใช้จ่ายในส่วนของขนส่งสาธารณะจะสอดคล้องไปกับค่าครองชีพในประเทศ ก็คือถ้าประชาชนมีรายได้ที่สูง และประเทศมีอัตราเงินเฟ้อที่สูง ค่าโดยสารก็จะมีราคาสูงตามไปด้วย เช่นที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน แต่อย่าไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นก็จัดอยู่ในข้อยกเว้นในเงื่อนไขนี้ เพราะว่าญี่ปุ่นนั้นมีค่าครองชีพที่สูง แต่ทว่าค่าใช้จ่ายขนส่งมวลชนนั้นมีค่าใช้จ่ายเพียง 1.5 ดอลลาร์ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากของคนญี่ปุ่น

รถไฟใต้ดิน สถานีรถไฟใต้ดิน

สถานีรถไฟในสวีเดน

Pågatåg, Traffic, Transportation, Subway, Underpass, Sweden, Interior, Platform, Stage, Mass Transit, Train, Transportation, Passengers, Pullman, Underground | PixCove

รถไฟฟ้า สวีเดน

กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองหลวงที่ประชาชนมีค่าใช้จ่ายกับขนส่งมวลชนแพงที่สุดเป็นอันดับที่ 53 จาก 71 ประเทศ แต่เมื่อมาเปรียบเทียบกับรายได้คนในประเทศแล้วประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงที่สุดในโลก

จุก BTS ปรับราคาใหม่ ค่าโดยสารสูงสุด 59 บาท โซเชียลโอดแพงเกินไป

สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ออกมาเผยว่าค่ารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯนั้นมีราคาที่แพงกว่าลอนดอน สิงคโปร์ และฮ่องกงซะอีก ซึ่งมีราคามากกว่าประมาณ 15 บาท หรือคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าโดยสารดังกล่าวนั้นได้สวนทางกับรายได้ของคนในประเทศ และส่งผลกระทบในวงกว้างในเวลาต่อมา

ในขณะที่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้ในงวดปี 62/63 เป็นเงิน 8.16 พันล้านบาท ผลกำไรโตขึ้น 184 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน ทำให้มีรายได้รวมจำนวน 42.2 พันล้านบาท โดยมีรายได้จากธุรกิจระบบขนส่งมวลชนเป็นรายได้หลัก ในส่วนธุรกิจสื่อโฆษณา มีผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่งแสดงกำไรสุทธิสูงสุดใหม่ ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อน

ขนส่งมวลชนไทย ทำไมต้องขาดทุน? เปิดสารพัดอุปสรรครถเมล์ไทย ที่ทำอย่างไรก็ไม่เจริญ | Brand Inside

Italian-Thai Development PLC.

หาทางออก..รถติด แก้ยังไง? | LINE TODAY | LINE TODAY

ขอขอบคุณที่มา efinancethai.com

arcadis.com

tomtom.com

wired.com

ขอบคุณรูปภาพ TDIR

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน