ถึงเวลามนุษย์คืนความสมดุลสู่ธรรมชาติ ร่วมฟื้นฟู วันสิ่งแวดล้อมโลก GC ผู้พัฒนานวัตกรรมพลาสติก ส่งผลิตภัณฑ์สู่วิถีใหม่ใส่ใจรักษ์โลก

ปฎิเสธไม่ได้ว่าในวิกฤติไวรัสโคโรนา(COVID-19) ได้ส่งผลให้มนุษย์ต่างเร่งหาหนทางเพื่อรับมือกับการระบาดครั้งนี้

นี่คงเป็นสัญญาณที่ธรรมชาติส่งถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2515 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก และร่วมกันหาหนทางออกและแนวทางปฏิบัติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันป้องกันแก้ปัญหา ทำให้ หัวข้อ รณรงค์ของวันสิ่งแวดล้อมโลกในปี พ.ศ. 2563 นี้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นเรื่อง “TIME FOR NATURE ถึงเวลา….คืนลม หายใจให้ธรรมชาติ”

จากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าร้อยละ 25 ของพันธุ์พืชและสัตว์ถูกคุกคามจากการกระทำของมนุษย์โดยมีกว่าล้านสายพันธุ์ที่กำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ในทศวรรษนี้ปัจจุบันภาคธุรกิจมีการพึ่งพาธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าที่คาดการณ์โดยคิดเป็นมูลค่าทาง เศรษฐกิจถึง 44 ล้านล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าครึ่งของจีดีพีโลก

ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ต้องรักและดูแลธรรมชาติ ทำให้ภาคเอกชนต่างๆพากันรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับ บมจ.พีทีทีโกลบอล เคมิคอล หรือ GC ที่ดำเนินธุรกิจบนพี้นฐานของความยั่งยืน นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (CircularEconomy) ในการสร้างสรรค์เคมีภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมกับการเร่งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของระบบนิเวศทางธุรกิจร่วมกับพันธมิตรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในมิติต่าง ๆ ที่บริษัทได้ริเริ่มและเป็นผู้ขับเคลื่อนตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

 

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก GC มีเป้าหมายในการดำเนินงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน สอดรับกับเป้าของประเทศและของโลกที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานการลงทุนในเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและโครงการด้านพลังงานทดแทน ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถือเป็นพันธกิจหลักของบริษัท

การแก้ปัญหาขยะทะเล ถือเป็นหนึ่งในแนวทางของ บริษัทที่ต้องการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสร้างความสมดุลของแหล่งน้ำและท้องทะเล ได้มีการริเริ่มโครงการ UpcyclingtheOceans, Thailand (UTO) จากการมีส่วนร่วมในทุกระดับ เพื่อนำขยะที่เกิดขึ้นในทะเลและชายฝั่งกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือการอัพไซคลิง (Upcycling) เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจต่อคุณประโยชน์ของพลาสติกสร้างการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากร

การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการป้องกันรักษาและฟื้นฟูความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อดูแลการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยการพัฒนากระสอบพลาสติกมีปีกที่มีโครงสร้างแข็งแรงทนทานสาหรับเป็นวัสดุสร้างฝาย ชะลอน้ำ สร้างแก้มลิง เก็บความชุ่มชื้น

ขณะเดียวกัน ยังได้นำองค์ความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศทางทะเลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพิมพ์แบบสามมิติ (3 DPrinting) มาปรับใช้สำหรับการพัฒนากายอุปกรณ์เทียมที่เหมาะสมสำหรับสัตว์ทะเลพิการ โดยเฉพาะสัตว์ทะเลที่หายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างเต่าทะเลที่พิการและไม่สามารถปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตตามธรรมชาติได้ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลของประเทศไทยให้มีความสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ท่ามกลางของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ส่วนหนึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะวิกฤต COVID-19 ในครั้งนี้ GC Group และพันธมิตรขอร่วมเป็นหน่วยสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์พลาสติก และเคมีภัณฑ์เพื่อใช้ในการต่อสู้กับกับแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ด้วยการมอบอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญต่อการรักษา ประกอบด้วย เสื้อกาวน์จากเม็ดพลาสติก PE 120,000ตัว ProtectiveSuitและหมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อ 500 ชุด ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือประมาณ 72,000 ลิตร ตู้พ่นซิลเวอร์นาโนฆ่าเชื้อ CoviClear 13 ตู้ หน้ากากอนามัยประมาณ 30,000ชิ้น ฟิล์มพลาสติกเพื่อประยุกต์ใช้ป้องกันเชื้อ 26 ตัน หน้ากากอนามัยป้องกันใบหน้า (FaceShield) 22,500 ชิ้น

ฉากกั้น (WallShield) 201ชิ้น หน้ากากอนามัย Upcycling สำหรับพระภิกษุสามเณร 850 ชิ้น ฉากกันคนไข้รอตรวจ COVID-19 100 อัน ที่หุ้มรองเท้า 600 คู่ เม็ดพลาสติกเพื่อผลิตหน้ากากอนามัย ป้องกันใบหน้า 3 ตัน และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ 300,000 ชิ้น

นี่เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนของระบบสาธารณสุขไทย ขณะเดียวกันยังมีส่วนของความร่วมมือพันธมิตรทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นพลังความร่วมมือ อาทิ ความร่วมมือกับไทยเบฟส่งมอบเจลแอลกอฮอล์มีส่วนผสมของไตรเอทานอลเอมีน(Triethanolamine:TEA) จำนวน 1,100,000 ขวด และ 3,200 แกลลอน ให้กระทรวงสาธารณสุข และอสม.ทั่วประเทศ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่

และยังได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาตู้โควิเคลียร์ (CoviClear) หรือต้พู่นซิลเวอร์นาโนฆ่าเชื้อ โดยใช้นวตักรรม Nanotechnology Sanitizing Spray ที่มีส่วนผสมของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ (BioactiveSilverIon) หรือ “โลหะเงิน” ลดความเสี่ยงไวรัส COVID-19

หากมองถึงปัญหาที่เกิดจากผลของการใช้พลาสติกและการจัดการพลาสติกแบบใช้คร้ังเดียวทิ้ง (Single-use plastic) GC มีฉลากGC Compostable รับรองความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะ พลาสติกตกค้าง ถือเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อโลกอย่างมาก

และในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยอดการใช้พลาสติกแบบใช้คร้ังเดียวทิ้งเพิ่มขึ้นจำนวนมากเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ และป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19

ล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา GC ยังได้ริเริ่มโครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” ร่วมกับพันธมิตร สร้างโมเดลต้นแบบลดขยะพลาสติกจากการบริโภคอาหารแบบเดลิเวอรี่ส่งถึงบ้านช่วงวิกฤต COVI
D-19 เพื่อเป็นการรณรงค์การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีสู่กระบวนการผลิตเป็นทรัพยากรอีกครั้ง ตามหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน

โดยเริ่มบนถนนสุขมุวิท กรุงเทพมหานครเป็นที่แรก และมีแผนขยายผลโครงการไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในอนาคต พร้อมกันนี้ยังได้ จัดทำโครงการมือวิเศษ โดย PPP Plastics GC เป็นหนึ่งผู้สนับสนุนการดำเนินงานของ PPP Plastics โครงการมือวิเศษ จะเป็นการตั้ง “ถังวนถุง” หรือจุดรับพลาสติกสะอาด ยืดได้ เพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล

โครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรณรงค์ให้ประชาชนทิ้งขยะพลาสติก เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการ Upcycling เป็นผลิตภัณฑ์จีวรรีไซเคิล

ถึงเวลาแล้ว ที่เราทุกคนจะให้เวลากับ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะสัญญาณที่ธรรมชาติส่งถึงเราจากวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ครั้งนี้ ถือการบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับทุกคนโดยตรง โดยเฉพาะในการทรัพยากรเกินขีดจำกัด ที่ธรรมชาติจะรับไหว

และหนทางนับจากนี้ไป การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดำเนินชีวิต คงต้องเข้าสู่ วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ทั้งการผลิต การบริโภค ที่ต้องคำนึง ความสะอาด และที่สำคัญต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน