วันที่ 17 ก.ย. นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า”จากอดีตถึงปัจจุบัน สวทช.ดำเนินการตามพันธกิจด้านการเตรียมพร้อมและสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า NQI (National Quality Infrastructure)

ซึ่งปัจจุบัน สวทช.มีทรัพยากรด้าน NQI ขนาดใหญ่ ครอบคลุมหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีศักยภาพด้านการทดสอบ สอบเทียบ ตรวจสอบ รับรองผลิตภัณฑ์ในระดับประเทศ และระดับสากล รวมถึงมีระบบคุณภาพการปฏิบัติงานทดสอบ สอบเทียบตรวจสอบ รับรอง ในระดับสากล ISO/IEC17025 ,ISO/IEC17020, ISO/IEC17065 ซึ่งได้รับการยอมรับและทำงานร่วมกับหน่วยงานควบคุมภาครัฐ เช่น สมอ. อย. กสทช. พพ. สนข. หน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ ตลอดจนมีประสิทธิภาพและความสามารถ ในการออกแบบวิศวกรรม ,การสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนา application ทางด้าน simulation , AI และ Big Data และความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุ อาหาร โลหะ ฯลฯ

เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหลักตามเป้าหมายของประเทศอย่างครอบคลุมและทั่วถึง สำหรับการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา Pain points และตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ Street food แบบตรงเป้านั้น สวทช.เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญในเรื่องนี้ เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดกับผู้ประกอบอาหารริมทาง และผู้บริโภคโดยตรงที่จะได้จำหน่ายและบริโภคอาหารที่นอกจากเรื่องความอร่อยแล้วยังมีคุณภาพปลอดภัย และลดการปลดปล่อยของเสียเข้าสู่สิ่งแวดล้อม

นอกเหนือจากนี้ ยังเล็งเห็นว่าธุรกิจ Street food ยังเชื่อมโยงกับ Value chain ทางธุรกิจอื่นๆอีกมาก อาทิ ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรถเข็น อุปกรณ์ ที่ใช้ในรถเข็น และหรือ Food truck และอื่นๆ รวมถึงการใช้วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์อาหารจากโรงงานแปรรูป ประเภทต่างๆ ทั้งเครื่องปรุงรส เครื่องเทศ ส่วนผสมอาหาร เป็นต้น และยังมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจำพวกบรรจุภัณฑ์ ภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของ street food โดยตรงอีกด้วย

ทั้งนี้ สวทช. โดยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมหรือเรียกสั้นๆว่า DECC นำความรู้ทางด้านวิศวกรรมและการออกแบบเข้ามาช่วย Matching ความต้องการที่แท้จริงของ Street food เพราะการตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้านับวันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตัดสินใจว่าจะซื้อ/ไม่ซื้อ ใช้/ไม่ใช้ โดยนอกเหนือจากการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีแล้วยังมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการ และกระตุ้นให้เกิดการขยายงานใช้จริงในวงกว้างต่อไปด้วย

ในส่วนของคุณสมบัติรถเข็นรักษ์โลกสำหรับ Street food ในเวอร์ชั่นที่ 3 นี้ ดร.อัมพร โพธิ์ใย ผู้อำนวยการศูนย์บริการศึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กล่าวว่า เป็นการต่อยอดจาก รถเข็นเวอร์ชั่นแรก PRESS RELEASE ที่ผู้ประกอบการกะเพราซาวห้า ได้รับการสนับสนุนจากDECC สวทช. ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อพลิกโฉมรถกะเพราซาวห้า โดยมีโจทย์ที่ท้าทายคือ ต้องสามารถลดน้ำหนักรถเข็นให้มีน้ำหนักเบาที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพ การดูดควันให้สามารถใช้งานในพื้นที่ปิดได้ รวมทั้งปรับปรุงระบบบำบัดน้ำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

และในวันนี้ DECC สวทช. ได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีทฟู้ดที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำเร็จแล้วในวันนี้ โดยการพัฒนาในเวอร์ชั่นที่ 3 นี้ เป็นรถเข็นน้ำหนักเบาพร้อมระบบน้ำดี, ถังบำบัดและซิงค์น้ำ+ระบบ
ดูดควัน + หัวเตาแก๊ส 2 หัว โดยคุณสมบัติที่สำคัญของรถ มีรายละเอียดดังนี้

ระบบน้ำทิ้งและน้ำดี โดยมีชุดถังดักไขมันด้านในของรถเข็นจากระบบน้ำทิ้ง และสำรองน้ำดี เพื่อใช้ล้างกระทะและซิงค์

ระบดูดและบำบัดควัน เพื่อทำการดูดควันจากการใช้เตาแก๊สและบำบัดควัน ก่อนปล่อยควันที่ไม่เป็นมลพิษคืนสู่อากาศ

ระบบสำรองไฟส่องสว่างแบบ LED ช่วยลดพลังงานการใช้ไฟฟ้า ระบบต่างๆ เช่น ระบบดูดควัน และระบบสำรองน้ำ

สามารถถอดประกอบได้ เพื่อบำรุงรักษาได้ทุกชิ้นส่วนของระบบทั้งหมด ชุดหลังคาสามารถถอดแยกส่วนจากตัวรถได้

คุณพงษ์ศรชัย สมิตะสิริ เจ้าของร้าน กล่าวว่า หลังจากประสบความสำเร็จในการทำร้านอาหารไทยสไตล์ โฮมเมดรสจัดจ้านแนวอาหารใต้มานานกว่า 13 ปี จนสามารถขยายสาขาไปกว่า 5 สาขา ได้แก่ สาขาสุรวงศ์, ทอง
หล่อ, ราชครู, ประสานมิตร และศูนย์วิจัย ก็มีความสนใจที่จะต่อยอดธุรกิจอาหารที่สามารถใช้กับรถเข็นสตรีทฟู้ด จึงได้สร้างแบรนด์ข้าวแกงพ่อมหา ข้าวแกงที่มีรสชาติจัดจ้านในสไตล์ร้านคั่วกลิ้ง ผักสด ที่มีราคาเริ่มต้นเพียง 40
บาท โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่ร้านคั่วกลิ้ง ผักสด สาขาศูนย์วิจัย หลังจากที่ได้เปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน ก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีอย่างมาก ทำให้ตอนนี้สั่งจองรถเข็นเพิ่มอีกจำนวน 1 คัน

สำหรับรถเข็นที่ทางร้านเลือกใช้นั้น เป็นรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 ซึ่งตอบโจทย์กับทางร้านเป็นอย่างมาก เนื่องจากร้านข้าวแกงพ่อมหาเปิดขายในเมือง ที่มีคนพลุกพล่าน จึงต้องใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยทั้งในเรื่องของกลิ่นอาหาร และระบบ น้ำดี ระบบบำบัดน้ำ อีกทั้งรถเข็นยังมีน้ำหนักเบาจึงสามารถเคลื่อนได้อย่างสะดวก ประกอบกับการออกแบบที่ลงตัวทำให้ทางร้านใช้งานได้ง่าย เหมาะกับช่วงเวลาเร่งด่วนของคนเมืองได้เป็นอย่างดี”

หลังจากการใช้งานรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 คันแรกนั้น ต่อมาทางร้านคั่วกลิ้งผักสดจึงได้ทำการสั่งจองรถเข็นรักษ์โลกเพิ่มเติมอีก 1 คัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรถมาต่อกิจการสำหรับการขายอาหารประเภทข้าวแกง โดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ข้าวแกงพ่อมหา” โดยให้ DECC สวทช.ได้มีการปรับรูปแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้เหมาะสำหรับการจำหน่ายข้าวแกงโดยเฉพาะ ได้แก่ การเพิ่มช่องใส่อาหารจำนวน 10 ช่อง พร้อมระบบอุ่นอาหาร ตัดซิงค์ด้านข้างออก ปรับขนาดเครื่องดูดควันให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย

คุณพงษ์ศรชัย กล่าวต่อ นวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกนี้ถือได้ว่า เป็นการปฏิวัติสตรีทฟู้ดแบบใหม่ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยังตอบโจทย์ยุค New Normal ที่สะอาด สะดวก ปลอดภัย ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศ กระตุ้นภาคธุรกิจในเรื่องการสร้างอาชีพ ช่วยกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการที่สนใจประกอบการได้สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สามารถสั่งจอง ผ่านทางออนไลน์ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 025646310 -11 หรือ www.decc.or.th/streetfood

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน