เมื่อวันที่ 5 ต.ค. พญ.ชัญวลี ศรีสุโข โฆษกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีที่มีคนไข้รายหนึ่งร้องเรียนผ่านทางเพจเฟคบุ๊ค “แหม่มโพธิ์ดำ” แพทย์ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งตนมีสิทธิประกันสังคมอยู่ ตรวจพบว่าตนเป็นโรคหัวใจโดย แนะนำให้รักษาด้วยการฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ แต่อ้างว่ามีที่โรงพยาบาลศิริราชที่เดียวเท่านั้น ก่อนจะนำแนะคนไข้ให้จ่ายค่าลัดคิว 50,000 บาท ว่า ตามปกตินั้นมีอยู่ในกฎระเบียบว่า คนไข้สามารถให้สินจ้างรางวัลแก่แพทย์ได้ด้วยความเสน่หา เช่นรักษาเสร็จแล้วรู้สึกเพิ่งพอใจอยากให้เป็นรางวัลโดยแพทย์ไม่ได้ร้องขอ แต่ต้องเป็นสิ่งของหรือรางวัลไม่เกิน 3,000 บาท เช่นนั้นถือว่าไม่ผิดแต่อย่างใด

พญ.ชัญวลี กล่าวต่อว่า หากแพทย์มีการร้องข้อเงินต้องตรวจสอบว่าเพื่ออย่างใด เงินเข้าโรงพยาบาลหรือไม่ ต้องตรวจสอบดูในหลายกรณี เช่น เรียกเงินเนื่องจากอุปกรณ์บางชนิดที่ใช้ในการรักษานั้นไม่ได้อยู่ในงบที่เบิกได้ หรือมีลักษณะเป็นคลินิกพิเศษนอกเวลา ก็สามารถเรียกเก็บเพิ่มได้ ซึ่งเงินในส่วนที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ต้องตรวจสอบว่าเงินดังกล่าวตกไปที่ใคร

“ในกรณีที่แพทย์มีการเรียกร้องเงินนั้นมีข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับ, ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับ หรือส่งผู้ป่วยเพื่อรับบริการทางวิชาชีพเวชกรรม หรือเพื่อการอื่นใด , ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยให้หลงเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของตน ,ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย ซึ่งการเรียกรับเงินเพื่อนเข้ากระเป๋าตัวเองนั้นถือว่าผิดต่อกฎข้อบังคับเหล่านี้ ทั้งนี้ต้องมีการตรวจสอบในกรณีดังกล่าวก่อน ซึ่งคนไข้สามารถร้องเรียกเข้ามาที่แพทยสภาเพื่อข้อให้ตรวจสอบได้เลย หรือหากในกรณีนี้คนไข้ได้ร้องเรียนผ่านสื่อ เลขาธิการแพทย์สภาก็สามารถเอาเข้าที่ประชุมเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่างได้ทันที ” พญ.ชัญวลี กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน