ภายหลังที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยังยืนหรืออพท.1 ที่ได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน 5,500,000 บาท ในการนำเรือรบหลวงช้าง เรือรบสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ทางกองทัพเรือได้ปลดประจำการและมอบให้กับจังหวัดตราด เพื่อให้เป็นอาศัยของสัตว์น้ำแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ของจังหวัด และเป็นจุดดำน้ำที่เป็นเรือรบที่ใหญ่สุดในประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อ เป็นเรือช้าง

นายสุธารักษ์ สุนทรวิภาต ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง กล่าวว่า หลังจากที่นำเรือช้างมา จมที่ท้องทะเลตราด เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยเราชาวต่างชาติ ที่ชอบการดำน้ำ เริ่มเดินทางมาที่จุดหรือช้างมาสัมผัสการดำน้ำแห่งใหม่ของจังหวัดตราด นอกเหนือจากเกาะรัง ซึ่งสถิติในช่วงไฮซีซั่นตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี จะมีนักดำน้ำเดินมาดำน้ำดูเรือช้างเพิ่มปีละ 20 % โดยจากการเก็บสถิติครั้งล่าสุดเดือนตุลาคม 2559-ตุลาคม 2560 ปรากฏว่ามีนักดำน้ำเฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 50 คนสูงสุดอาจจะถึง 100 คนต่อวัน เบื้องต้นประมาณการรายได้ไม่ต่ำกว่า 36 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมธุรกิจต่อเนื่อง ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการจมเรือช้างเมื่อ 5 ปีก่อน นอกจากธุรกิจดำน้ำแล้วยังส่งผลดีต่อสัตว์น้ำประเภทต่างๆเช่นเต่าทะเลและฉลามวาฬ เป็นต้น

คุณคริสเทล โกลสเทน เจ้าของธุรกิจดำน้ำ บีบีไดเวอร์เปิดเผยว่าหลังจากที่มีการดำเนินหลวงช้างส่งผลดีต่อธุรกิจดำน้ำเป็นอย่างมากมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเดินทางมาดำน้ำบริเวณเรือช้างอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเข้าปีที่สามของการจมเรือเริ่มมีสัตว์น้ำในหลายชนิดว่ายเวียนบริเวณเรือช้างเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงเต่าทะเลและฉลามวาฬ ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ก็ปรากฎตัวให้นักดำน้ำให้เห็นตัวกันต่อเนื่อง สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักดำน้ำเป็นอย่างมาก และต้องขอบคุณอพท.และจังหวัดตราดที่นำเรือช้างมาจม เพื่อทำเป็นแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งดำน้ำที่มีความสำคัญของจังหวัดตราดอีกแห่งหนึ่ง และเป็นจุดดำน้ำเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถึงแม้ว่าสภาพใต้ท้องทะเลหรือพันธุ์สัตว์น้ำที่พบเห็นนั้นจะน้อยกว่าและไม่สวยเท่ากับภาคใต้ก็ตาม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน