รองผบช.น. เปิดโครงการบก.น.5 โมเดล แก้ปัญหานักเรียนตีกันให้น้อยลง ชูผู้บริหารโรงเรียน สถาบัน หัวหน้าโรงพักต้องลงมาขับเคลื่อนแก้ปัญหาตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง ลงพื้นที่เข้าถึงหยุดต้นตอหัวโจกก่อเหตุให้ลดลง

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 19 ก.ย. ที่โรงเรียนปทุมคงคา พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา รองผบช.น. ดูแลงานป้องกันปราบปราม พร้อมด้วย พล.ต.ต.วิทวัฒน์ ชินคํา ผบก.น.5 พ.ต.อ.ภพธร จิตต์หมั่นรองผบก.น.5 พ.ต.อ.ฤทธี ปานดำ รอง ผบก.น.5 พ.ต.ท.ณัฐกิตติ์ จอกโคกสูง รองผกก.ป.ทองหล่อ ตัวแทนศูนย์ความปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ผู้แทนสำนักงานสพฐ. นายสมศักดิ์ สนกนก ผอ.โรงเรียนปทุมคงคา ผกก.สน. รองผกก.ป. สวป. 9 แห่ง สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล (บก.น.5) โรงเรียน สถานศึกษา 13 แห่ง ห้างสรรพสินค้า พื้นที่บก.น.5 สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างสถาบันการศึกษา ตามแนวทาง “บก.น.5 โมเดล”

พล.ต.ต.ชรินทร์ เปิดเผยว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)ที่ตนรับผิดชอบปัญหานักเรียนตีกันเป็นนโยบายหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และบช.น. ถือเป็นปัญหาสั่งสมมานาน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของเด็กขายาว เด็กขาสั้นกลัวโดนลูกหลง ถามว่าภายในเส้นทางพื้นที่บก.น.5 อาจจะไม่หมดไป แต่ด้วยความร่วมมือของตำรวจในพื้นที่บก.น.5 โดยเฉพาะผู้กำกับการต้องเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการแก้ไขปัญหา นักเรียนตีกัน

กรณีดังกล่าวเป็นการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นภัยคุกคาม ที่ผู้กำกับการทั้ง 9 โรงพักในบก.น.5 ต้องดูแล วัดจะดีอยู่ที่เจ้าอาวาสดี โรงเรียนดีได้ ผู้อำนวยการต้องดี โรงพักจะดีได้ผู้กำกับการต้องดี ตนมานั่งทำงานตั้งแต่ปลายปี 65 ในพื้นที่ทุ่งมหาเมฆ ครูเจี๊ยบยืนกดเอทีเอ็มกลับถูกยิงเสียชีวิต พื้นที่สน.ทุ่งมหาเมฆ เป็นเรื่องที่น่าสลดใจเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ยกตัวอย่างมีนบุรีโมเดล เป็นแนวทางแก้ไขปัญหารูปแบบหนึ่ง มีการประสานข้อมูลร่วมโรงเรียนมีการตรวจสอบนักเรียนที่ไม่ดีออกจากโรงเรียน ทำให้ปัญหานักเรียนตีกันลดลง มีการสอบถามนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่โรงเรียนปทุมคงคา สน.ทองหล่อ มีการลงพื้นที่ไปตรวจสอบถึงบ้านเด็กนักเรียนที่กระทำความผิด

รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอย่างจ.สมุทรปราการ มาร่วมเนื่องจากเป็นพื้นที่เข้าออกของผู้ก่อเหตุในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง หมด 15 คู่ ในพื้นที่บก.น.5 ซึ่งมีการแตะตัวติดตามนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหารือกับผู้ปกครองว่าจะดำเนินการกับลูกอย่างไร

นครบาลมีหลักคิดว่า ตำรวจจะไม่โดดเดี่ยวตัวเองในการทำงาน เชื่อว่าอาจจะไม่หมดไปแต่จะพยายามทำให้ลดลง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีการให้ความสำคัญให้โรงเรียนแบ่งกลุ่มเสี่ยงตรวจสอบ ส่วนใหญ่ถ้าพูดเรื่องนักเรียนตีกันตำรวจสายตรวจชุมชนสัมพันธ์ทำได้แค่ไปตรวจแค่ต้นทางของปัญหา เพราะผู้กำกับการไม่ได้ลงพื้นที่ไปเอง โรงเรียนมีฝ่ายปกครองลงไปเท่านั้น ผู้อำนวยการไม่ได้ไปเอง บช.น. ไม่ลง จึงยังมีปัญหาไปตกอยู่ที่นายดาบตำรวจชั้นประทวน

ผู้บริหารจึงต้องลงมาช่วยแก้ไขก็ช่วยดูแลคนทำงานที่แก้ไขปัญหาดังกล่าว พื้นที่ไหนเป็นสนามรบ ใครเป็นแกนนำก่อเหตุรับทราบก็ให้ดำเนินการตรวจสอบและเร่งดำเนินการจัดการ เมื่อประชุมแล้วก็จะดูการดำเนินการ ตนคาดหวังว่าการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทเบาบางลง อยากได้บรรยากาศนักเรียนนักศึกษาเก่งด้านวิชาการมากกว่าตีกัน

ด้าน พล.ต.ต.วิทวัฒน์ กล่าวว่า การเสวนาความร่วมมือ ตามแนวทางบก.น.5 โมเดล ที่ผ่านมา กลุ่มนักเรียนต่างสถาบันมีเหตุทะเลาะวิวาท ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องได้รับอันตราย บาดเจ็บ เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย จึงได้จัดทำบก.น.5 โมเดล ป้องกันเหตุ และประสานงานรวมกลุ่มที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการทะเลาะวิวาท ได้ผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุมแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้สังคมของเรามีความปลอดภัยเกิดขึ้น

อยากให้บก.น.5 โมเดล เป็นผู้ดำเนินการเป็นตัวอย่างให้กองบังคับการอื่นได้ ลักษณะคือการต่อยอดจากมีนบุรีโมเดล เสวนารีร่วมกัน นอกจากนี้เรามีโอกาสรู้จักทักทายได้พูดแลกเปลี่ยนความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ของเราเป็นพื้นที่เมืองเด็กบางส่วนมาเรียน

มีการกระจายตามพื้นที่ในเขตบก.น.5 ในโรงเรียนมีน้องที่ไหนบ้างเป็นกลุ่มเสี่ยงเข้าไปพูดคุยหาแนวทางแก้ไข เราเอามาปรับใช้เบื้องต้นจากมีนบุรีโมเดลสามารถระงับเหตุได้เร็วขึ้น หลังแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มีการดำเนินการต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยง เปลี่ยนพฤติกรรมได้ดียิ่งขึ้น

ด้าน พ.ต.อ.ฤทธี กล่าวว่า บก.น.5 รับข้อสั่งการบช.น. แก้ไขความขัดแย้งระหว่างสถานศึกษา จึงมีการจัดประชุมขึ้นในการร่วมกลุ่มทะเลาะวิวาทนักเรียนต่างสถาบัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมดังกล่าวน่าจะลดความขัดแย้งดังกล่าวลงไปได้

ด้าน นางณัฐพัชร์ ศิริเสถียร ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา กล่าวว่า ตัวอย่างการทำงานของโรงเรียนนนทรีวิทยา อาจจะสามารถนำไปพัฒนาได้ เราตั้งทีมตระหนักในอาชีพ แนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ตัวพ่อของเราในยุคนี้ เป็นเด็กในพื้นที่ชุมชน และมีปัญหาครอบครัว ตำรวจได้แนวทางมีนบุรีโมเดล เราต้องรู้เด็กของเราเป็นอย่างไร ใช้การออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตามเก็บรายละเอียดเด็กที่จะมาทำให้เกิดความเสียหาย จัดทีมครูคอมพิวเตอร์ มีภาคีเครือข่ายตำรวจ ทหาร สาธารณสุข นักจิตวิทยา ป.ป.ส. สรรพสามิต และทำให้เกิดความปลอดภัยเกี่ยวกับเด็กสูงสุด

โดยมีตำรวจให้ข้อมูล รู้โทษความผิด พินิจจิตใจ แก้ไขพัฒนา บำเพ็ญประโยชน์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง อาจารย์ภายในโรงเรียนมีการประสานงานกับเรือนจำนนทบุรี จึงได้นำภาพให้เห็นผู้ถูกลงโทษว่า หากกระทำความผิดจะได้รับผลอย่างไร โดยจะเข้าไปช่วยดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง มีปัญหาผู้ปกครองต้องมาที่โรงเรียนทันที รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายเป็นโรงเรียนข้างเคียง นอกจากนี้ยังมีการใช้กิจกรรมการแข่งขันกีฬา มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็กดีขึ้น ได้รางวัลจากระบบการดูแลนักเรียน

ด้าน นายเอกมล แสงหิรัญ ผอ.วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ กล่าวว่า เรื่องมันไม่ใช่เฉพาะขายาวแล้วมาถึงขาสั้น พัฒนาการเด็กอาชีวะ ตนเป็นผู้อำนวยการเทคโนกรุงเทพ อยู่มา 20 ปี หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหา คือ ต้องหาต้นตอให้ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำผิดและนำมาแก้ไขอย่างรวดเร็วตามกฎของกระทรวง การอบรม มีหน่วยงาน รัฐมนตรี หรือ ส.ส. มาเพียงชั่วครู่เดียวแล้วจากไป เอาเด็กกลุ่มเสี่ยงเข้าค่ายทหาร 1 สัปดาห์ เด็กที่มีปัญหามีเพียงร้อยละ 1-5 เท่านั้น

แต่ต้องใช้สรรพกำลังมหาศาล การแก้ไขปัญหาเด็กเหล่านี้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด ค่านิยมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ระบบที่ดีที่สุดคือการไปฝึกทหาร ถ้าต่อยอดได้ก็สามารถทำได้ต่อเนื่องจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างโครงการดังกล่าว เด็กหลายคนมาตั้งใจเรียน แต่พอมีเด็กส่วนน้อยทำเกิดเรื่อง ทำให้นักเรียนอาชีวะน้อยลง เมื่อเด็กอาชีวะน้อยภาคอุตสาหกรรมขาดแคลนคนทำงาน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน