ครูพรีมมี่ ผอ.ศูนย์ Elite Exam จับมือ ศูนย์ HCEC ทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเด็ก ป.5 -ป.6 จากโรงเรียนคุณภาพทั่วประเทศ
นายนรเสฏฐ์ เธียรประสิทธิ์ (ครูพรีมมี่) ผู้อำนวยการศูนย์ Elite Exam พร้อมด้วย ดร.อาทิตยา ปัญญา ผู้อำนวยการศูนย์ HCEMC ดร.กัญชร มัททวีวงศ์ และคณะ ตรวจเยี่ยมการจัดการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐาน CEFR ด้วยชุดข้อสอบ Profiency test 4 skills LanguageCert Young Learner A1
ให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของโรงเรียนคุณภาพทั่วประเทศ เริ่มขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 67 จัดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ ภาคกลาง ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีเด็กให้ความสนใจร่วมสอบในโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ การจัดสอบดังกล่าว ศูนย์ Elite Exam ร่วมกับศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (HCEC) จัดขึ้น
สำหรับโครงการดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างครบถ้วนทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง พูด อ่าน และเขียน
โดยมีการผสมผสานเทคโนโลยีทางการศึกษา ระบบสารสนเทศ และสื่อ Interactive Multimedia ที่ทันสมัย บูรณาการการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานให้เท่าทันกับยุคสมัย โดยใช้กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (The Common European Framework of Reference for Languages : CEFR)
เป็นแนวทางการพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) อยู่ที่ระดับ A1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) อยู่ที่ระดับ A2 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ที่ระดับ B1 นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และแนวทางการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นนโยบายเร่งด่วน เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาระดับความสามารถในด้านภาษาอังกฤษของไทยที่อยู่ระดับต่ำมากกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้ใช้กรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งในการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดและประเมินผล การพัฒนาครู โดยการนำเอาสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน และกลไกของเกมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถสร้างแรงจูงใจ
สร้างความสนุกสนานและท้าทาย เป็นการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา สามารถที่จะฝึกและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษผ่านเทคโนโลยีได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนรายบุคคล และมีระบบบริหารการจัดการเรียนรู้ (LMS) เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ