สมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัด) ‘วัดระฆังโฆสิตาราม

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

สมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัด) – หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ศิษย์เอกเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง โฆสิตาราม นับเป็นพระภิกษุเพียงรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน

มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าทัด ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 9 ..2365 เป็นพระโอรสในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นสกุลเสนีวงศ์) กับหม่อมบุญมา

พระองค์เจ้าชายแตงเป็นเจ้านายจากวังหลัง โดยเป็นโอรสของเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (อุปราชวังหลังในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระน้องนางของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติในช่วงต้น ก่อนที่จะทรงผนวช ซึ่งบันทึกไว้โดยพระเทพญาณเวที (ละมูล สุตาคโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์พระราชธรรมภาณี ดังนี้

เมื่อผู้เขียนเป็นเด็กยังไม่ได้บวชเณร เคยได้ฟังมาจากโอษฐ์ของหม่อมเจ้าหญิงสืบ พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (พระองค์เจ้าเกต) รับสั่งเล่าถึงเรื่องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แล้วเลยรับสั่งถึงหม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ต่อไปให้พวกผู้ใหญ่ฟัง รับสั่งเล่าว่า

เจ้าพระทัดนี้เป็นเจ้าวังหลัง รูปร่างขี้ริ้ว มีพี่ชายชื่อเจ้าพยอม บวชอยู่วัดบางหว้า เป็นท่านเจ้าฯ พี่พระสังวรประสาท

หม่อมเจ้าพระสมเด็จฯ องค์นี้ เมื่อเป็นฆราวาสได้ไปสู่ขอกุลสตรีผู้หนึ่ง บิดามารดาทางฝ่ายหญิงเขาติว่าขี้ริ้วและเป็นเจ้าจนๆ อายุมากแล้ว เสียพระทัยจึงออกผนวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใครจะเป็นพระอุปัชฌาย์สืบไม่ได้ ทราบแต่ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อครั้งยังเรียกกันว่าพระมหาโต เปรียญหก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วมาประทับอยู่วัดระฆังฯ ทรงเล่าเรียนภาษาบาลีกับพระอาจารย์มหาโตแต่ผู้เดียว จนถึงสอบไล่ได้เป็นเปรียญ 7 ประโยค เมื่อเจริญด้วยพระชนมายุพรรษา จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่พระพุทธบาทปิลันท์

โดยที่พระราชวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข อยู่ติดกับวัดระฆังโฆสิตาราม และทรงเป็นผู้อุปการะวัด ดังนั้น เจ้านายสายวังหลังจึงรู้จักมักคุ้นและสนิทสนมกับพระภิกษุสงฆ์ของวัดระฆังโฆสิตารามเป็นอย่างดี ซึ่งก็รวมทั้งหม่อมเจ้าทัดด้วย เมื่อมีพระชนมายุถึงเวลาอันสมควรจะบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปก็มักจะจัดกันที่วัดใกล้บ้านของตน

แต่โดยที่หม่อมเจ้าทัดเป็นราชวงศ์ จึงต้องทำพิธีที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แทนที่จะเป็นวัดระฆังฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่ได้บรรพชาแล้วท่านก็ไปเล่าเรียนกับพระมหาโต ที่วัดระฆังฯ จนอายุครบอุปสมบท ในปีพ..2385 จึงผนวชเป็นภิกษุที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามโบราณราชประเพณี มีสมเด็จพระอริย วงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แต่ครั้งยังเป็นพระมหาโต เปรียญ 6 เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ หลังจากผนวชแล้วได้มาประทับอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามตาม เดิม ทรงศึกษาด้านพระธรรมวินัย สมถกรรมฐาน และวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์มหาโตแต่ผู้เดียว

..2392 ได้สอบพระปริยัติธรรมซึ่งจัดที่สนามสอบวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค อีก 12 ปีต่อมา ถึงปีพ..2404 ได้สอบอีกที่สนามสอบวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้เพิ่มอีก 4 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค

..2407 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ที่หม่อมเจ้าพุทธุปบาทปิลันทน์

ต่อมาในปีพ..2415 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ แทนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่มรณภาพ

..2430 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันธน์พระธรรมเจดีย์

..2435 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายเหนือ ที่หม่อมเจ้าพระพิมลธรรม์ ย้ายไปครองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

..2437 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะอรัญวาสีและเจ้าคณะใหญ่คณะกลาง ที่หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ สถิต วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

สิ้นชีพิตักษัยด้วยพระโรคชรา เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด ตรงกับวันที่ 10 มิ..2443 เวลาบ่าย 2 โมงเศษ สิริชันษา 77 ปี 244 วัน

อ่าน –

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน